Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2333
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorระวีวรรณ มาลัยวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorฉวีวรรณ ผลาหาญ, 2516--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2022-12-06T06:54:39Z-
dc.date.available2022-12-06T06:54:39Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2333-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ และไม่เลือกใช้บริการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในจังหวัดปราจีนบุรี และ 2) ศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคของการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในจังหวัดปราจีนบุรี ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมจากแบบสอบถามจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยื่นแบบผ่านระบบอินเทอร์เน็ต จานวน 142 ตัวอย่าง และที่ไม่ยื่นแบบผ่านระบบอินเทอร์เน็ต จานวน 165 ตัวอย่างในจังหวัดปราจีนบุรี โดยเก็บข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2555 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการใช้แบบจำลองโลจิท โดยเทคนิควิธีการวิเคราะห์การประมาณภาวะความน่าจะเป็นสูงสุด และเทคนิคการวิเคราะห์โดยใช้ผลกระทบส่วนเพิ่ม ผลการศึกษาโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาพบว่า 1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยื่นแบบชาระภาษีผ่านระบบอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เป็นนิติบุคคล เป็นผู้มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปและเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการยื่นแบบชาระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตคือ ความสะดวกรวดเร็วมากกว่ายื่นที่หน่วยจัดเก็บ ช่วยประหยัดเวลาเดินทาง ได้รับสิทธิพิเศษในการยื่นแบบหลังเวลาราชการและลดภาระความยุ่งยากในการยื่นเอกสารประกอบ ตามลำดับ และผลจากการศึกษาโดยใช้แบบจำลองโลจิท พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการยื่นแบบชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ตมากที่สุด คือ สามารถลดค่าใช้จ่ายในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี รองลงมาคือได้รับสิทธิในการพิจารณาคืนเงินภาษีเร็ว ได้รับความสะดวกกว่าการไปยื่นภาษีที่สานักงานสรรพากร และความสะดวกรวดเร็ว ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจไม่เลือกใช้บริการมากที่สุดคือ การยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตมีความยุ่งยาก รองลงมาคือไม่คิดว่าจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการยื่นแบบฯ 2) จากการศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบอินเทอร์เน็ตมีปัญหาที่สาคัญคือ ขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านอินเทอร์เน็ต ขั้นตอนการสมัครที่ยุ่งยาก การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง และมีขั้นตอนการทำรายการที่ยุ่งยากตามลำดับth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการชำระภาษี -- ไทย -- ปราจีนบุรีth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบอินเทอร์เน็ต : กรณีศึกษาผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในจังหวัดปราจีนบุรีth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting the tax filing over the internet : a case study entrepreneur vat registration in Prachin Buri Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study has two objectives: 1) to study influence factors for decision making to submit or not submit VAT submission via internet by VAT registered enterprises in Prachin Buri Province, and 2) to study the problems and obstacles of VAT submission and VAT payment through Internet by VAT registered enterprises in Prachin Buri Province. Primary data has been collected from 142 of entrepreneur’s questionnaires who do VAT submission online and 165 of entrepreneurs who do VAT submission offline in Prachin Buri Province by collected VAT registered enterprises's data as of July 31, 2012. Descriptive statistics, Maximum Likelihood Estimation (MLE) and Marginal Effects from Logit Model were used to analyze the data. The result of study that using descriptive statistics, 1) VAT registered enterprises that pay taxes through the Internet mainly as an entity, a person with a bachelor's degree or more, and knowledgeable about tax filing via the Internet. The most influence factors for online VAT submission to be convenient, faster than submit at Revenue Department, save travel time to pay taxes and entitled to VAT submitting out of office hours and reduce the hassle of filing tax documents, respectively. The results were analyzed by logistic model, the most influence factor for online VAT submission is reduce the cost of VAT submission, then follow by reduce time consumption for VAT refund and more convenient than travel to apply the tax to the Revenue Department. And the most influence factor to not use online VAT submission by logit model is complication of online VAT submission, and then the minor they still think cannot cut cost of VAT submission. 2) The problem and obstacle of online VAT submission is lack of knowledge for online VAT submission, the application process is cumbersome, not widely publicized, and cumbersome process transactions respectivelyen_US
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
135838.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.98 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons