Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2334
Title: การตัดสินใจขายปาล์มน้ำมันของสมาชิกสหกรณ์กองทุนสวนยางห้วยโต้ จำกัด จังหวัดกระบี่
Other Titles: Decision making to sell palm oil of Huai Too Rubber Replanting Fund Cooperatives Ltd., Krabi. Province
Authors: ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
เกตมณี บุญส่ง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ปาล์มน้ำมัน--ไทย--กระบี่
การตัดสินใจ
การขาย
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปสมาชิกที่ขายปาล์มน้ำมันของสหกรณ์ 2) การตัดสินใจ ขายปาล์มนํ้ามันของสมาชิกสหกรณ์ 3) ระดับความสําคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจขายปาล์มนํ้ ามันของสมาชิกสหกรณ์ 4) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับการตัดสินใจขายปาล์มนํ้ามันของสมาชิกสหกรณ์และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการตัดสินใจขายปาล์มนํ้ามันของสมาชิกสหกรณ์กองทุนสวนยางห้วยโต้จํากัด จังหวัดกระบี่ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ สมาชิกสหกรณ์ กองทุนสวนยางห้วยโต้ จํากัด ที่ขายปาล์มนํ้ามันให้แก่สหกรณ์ทั้งหมด จํานวน 85 ราย โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมดเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษา พบว่า 1) สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 36 – 50 ปีจบการศึกษาระดับ ประถมศึกษา จํานวนสมาชิกในครอบครัวที่ช่วยกันทําการเกษตร 2-3 คน ระยะเวลาการเป็นสมาชิก 1-5 ปี มีผลผลิตปาล์มนํ้ามันต่อปี 61 ตันขึ้นไป รายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อปี180,001 บาทขึ้นไป รายจ่ายของครอบครัวเฉลี่ยต่อปี 150,001 บาทขึ้นไป ตลาดที่สมาชิกสหกรณ์ขายปาล์มนํ้ามันเป็นประจํานอกจากสหกรณ์คือ สหกรณ์อื่นๆ 2) การตัดสินใจขายปาล์มนํ้ามันของสมาชิกสหกรณ์ พบว่า สมาชิกสหกรณ์ขายผลปาล์มน้ำมันให้สหกรณ์ในแต่ละครั้งมีจํานวน 2-5 ตัน ร้อยละ 64.7 ความถี่ในการขายปาล์มนํ้ามันให้กับสหกรณ์ เดือนละ 2 ครั้ง ร้อยละ 58.8 เหตุผลในการขายปาล์มนํ้ามันให้กับสหกรณ์เพราะราคาสูง ร้อยละ 50.6 และผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจขายปาล์มนํ้ามันให้กับสหกรณ์คือ ตนเองร้อยละ 36.5 และ ภรรยา/สามี ร้อยละ 35.3 3) ระดับความสําคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจขายปาล์มนํ้ามันของสมาชิกโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางทุกปัจจัย คือ ปัจจัยด้านราคา (ปาล์มนํ้ามัน) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านกระบวนการของสหกรณ์ และ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ปาล์มนํ้ามัน 4) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับการตัดสินใจขายปาล์มนํ้ามันของสมาชิกสหกรณ์ที่มีค่าเฉลี่ยในการตัดสินใจสูงสุด ได้แก่ ปัจจัยด้านการจัดจําหน่ายกับปริมาณในการขายปาล์ม จํานวน 11 ตันขึ้นไป ด้านราคากับความถี่ในการขายเดือนละ 1 ครั้ง และด้านราคากับเหตุผลในการขาย คือราคาสูง และใกล้บ้าน และด้านกระบวนการให้บริการของสหกรณ์กับผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจขาย คือ พ่อหรือแม่ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการตัดสินใจขายปาล์มนํ้ามันของสมาชิกสหกรณ์ ด้านกระบวนการให้บริการของสหกรณ์ คือ ควรมีบริการรับจ้างตัดปาล์มและขนปาล์มให้สมาชิก และปัญหาการคัดปาล์มนํ้ามันดิบ และมีข้อเสนอแนะคือ ควรให้ความรู้แก่สมาชิกเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวผลผลิตปาล์มนํ้ามัน ส่วนด้านการส่งเสริมการตลาดของสหกรณ์ ควรมีการสื่อสารข่าวสารต่างๆ รวมทั้งราคารับซื้อปาล์มให้สมาชิกรับทราบล่วงหน้า
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2334
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
151021.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.61 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons