กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2337
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของสหกรณ์กองทุนสวนยางควนแบกก้าวหน้า จำกัด จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The analysis of operational outcome and Financial Situation of Kuan Bag-Kao-Nha Rubber Fund Coopertive Limited in Nakhon Si Thammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
เกษราภรณ์ มลิวัลย์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์กองทุนสวนยางควนแบกก้าวหน้า
สหกรณ์การเกษตร--การเงิน
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของสหกรณ์กองทุนสวนยาง และ 2) วิเคราะห์ ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของสหกรณ์กองทุนสวนยางควนแบกก้าวหน้า จำกัด จังหวัดนครศรีธรรมราช วิธีการศึกษาเป็นการเก็บข้อมูลทุติยภูมิจากงบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน หมายเหตุประกอบ งบการเงิน และเอกสารทางการเงินอื่นๆ ของสหกรณ์ในช่วงปี บัญชี 2553 – 2557การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีแนวตั้ง วิธีแนวโน้ม และอัตราส่วนทางการเงิน แบบ CAMELS โดยเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของสหกรณ์ประเภทและขนาด เดียวกันของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพทั่วไปสหกรณ์กองทุนสวนยางควนแบกก้าวหน้า จำกัด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2558 เป็นสหกรณ์ประเภทการเกษตรขนาดใหญ่ มีสมาชิก 126 คน ดำเนินธุรกิจ 3 ด้าน คือ ธุรกิจแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรและการผลิตสินค้า ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย และธุรกิจรับฝากเงิน มีสินทรัพย์ 4.41ล้านบาท หนี้สิน1.00 ล้านบาทและทุนของสหกรณ์ 3.41 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 0. 33 ล้านบาท 2) ผลวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานในช่วงปี 2553 – 2557 วิธีแนวตั้ง สหกรณ์ลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนร้อยละ 88.66 – 98.49 ของสินทรัพย์ โดยเป็นเงินสดและเงินฝากธนาคารร้อยละ 87.47-98.13 ส่วนหนี้สินและทุนของสหกรณ์ สหกรณ์มีทุนของสหกรณ์ร้อยละ 88.14- 95.69 ของหนี้สินและทุนรวม ยกเว้น ปี 2554 เป็นร้อยละ 38.69 ของหนี้สินและทุนรวม ส่วนอัตรากำไรของสหกรณ์ร้อยละ 0.41 – 2.51 ของยอดขาย ส่วนใหญ่เป็นต้นทุนขาย ร้อยละ 95.01-97.35 ของยอดขาย วิธีแนวโน้ม สินทรัพย์ของสหกรณ์เพิ่มขึ้น และลดลงไม่แน่นอนเมื่อเทียบกับปี ฐาน โดยปี 2554 ร้อยละการเพิ่มสูงสุด ปี 2555 เพิ่มลดลง ปี 2556 เพิ่มขึ้น และ ปี 2557 เพิ่มขึ้นลดลง ส่วนหนี้สินและทุนของสหกรณ์ก็เช่นเดียวกัน ส่วนรายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไรสุทธิของสหกรณ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี ฐานตั้งแต่ ปี 2554 -2556 ยกเว้น ปี 2557 เพิ่มขึ้นลดลง วิธีอัตราส่วนทางการเงินแบบ CAMELS ของสหกรณ์เฉลี่ย 5 ปี เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของสหกรณ์ มิติที่ 1 ความเพียงพอของเงินทุนต่อความเสี่ยง อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย อัตราทุนสำรองต่อสินทรัพย์ อัตราการเติบโตของทุน อัตราการเติบโตของหนี้ และผลตอบแทนต่อส่วนของทุนสูงกว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 2 คุณภาพของสินทรัพย์ อัตราการหมุนของสินทรัพย์ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์และอัตราการเติบโตของสินทรัพย์ สูงกว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 3 ขีดความสามารถในการบริหารจัดการของสหกรณ์สูงกว่าค่าเฉลี่ย โดยเฉพาะ ปี 2554 สูงมาก แต่ปี อื่นๆ ต่ำกวาค่าเฉลี่ย มิติที่ 4 การทำกำไรของสหกรณ์ กำไรและเงินออมต่อสมาชิกสูงกว่าค่าเฉลี่ย การเติบโตของทุนสำรอง การเติบโตของทุนสะสมอื่น การเติบโตของกำไรสูงกว่าค่าเฉลี่ย หนี้สินต่อสมาชิก อัตราค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ส่วนอัตรากำไรสุทธิเท่ากับค่าเฉลี่ย โดยบางปี สูงกว่าและบางปี ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 5 สภาพคล่องของสหกรณ์ อัตราทุนหมุนเวียนสูงกว่าค่าเฉลี่ยมาก ส่วนอัตราการหมุนของสินค้าใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย ส่วนอายุเฉลี่ยของสินค้าต่ำกว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 6 ผลกระทบต่อธุรกิจ ได้รับผลกระทบจากราคายางพารามีความผันผวน มีการแข่งขันกับธุรกิจเอกชนค่อนข้างสูง และการแทรกแซงจากรัฐบาล ที่ไม่สามารถควบคุมได้
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2337
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
151379.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.57 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons