กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/234
ชื่อเรื่อง: | การใช้สารสนเทศของนักออกแบบผลิตภัณฑ์เกมออนไลน์ : กรณีศึกษาบริษัทโกลเด้นซอฟท์ 2006 (ประเทศไทย) จำกัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Information use by online game product designers : The case of Goldensoft 2006 (Thailand) Co.,Ltd. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | น้ำทิพย์ วิภาวิน ปาณิศา ศรีหิรัญ, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ สารสนเทศ--การศึกษาการใช้ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การใช้สารสนเทศของนักออกแบบผลิตภัณฑ์เกมออนไลน์ (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้สารสนเทศของนักออกแบบผลิตภัณฑ์เกมออนไลน์ และ (3) ปัญหาและอุปสรรคของการใช้สารสนเทศของนักออกแบบผลิตภัณฑ์เกมออนไลน์ วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือนักออกแบบผลิตภัณฑ์เกมออนไลน์ของบริษัท โกลเด้นซอฟท์ 2006 (ประเทศไทย) จำกัด จำนวนทั้งหมด 25 คนโดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) นักออกแบบผลิตภัณฑ์เกมออนไลน์ใช้สารสนเทศเพื่อการวิเคราะห์และวางแผนการออกแบบผลิตภัณฑ์ และเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมการขาย (2) ปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อการใช้สารสนเทศของนักออกแบบผลิตภัณฑ์เกมออนไลน์ ได้แก่ ปัจจัยด้านภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ปัจจัยด้านการเรียนรู้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพิ่มเติม และปัจจัยด้านทัศนคติต่อการใช้เทคโนโลยสารสนเทศ และ (3) ปัญหาและอุปสรรคในการใช้สารสนเทศของนักออกแบบผลิตภัณฑ์เกมออนไลน์ ได้แก่ การเข้าถึงสารสนเทศที่เป็นภาษาต่างประเทศ และการจัดการเนื้อที่ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/234 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Arts-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
150145.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.39 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License