กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2362
ชื่อเรื่อง: | การใช้แบบจำลองโลจิทศึกษาความสามรถในการชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์จำกัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Applying the logit model to study the payback ability of Cooperative Government Office Co-operative Ltd.'s Members |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ เจริญ สมพงศ์นวกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี การชำระหนี้--แบบจำลอง การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ หนี้ |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาคร้ังนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างแบบจำลองโลจิทเพื่อทำนายความสามารถ ในการชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์จํากัด 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ ความสามารถในการชำระหนี้ของสมาชิกที่ใช้บริการเงินกู้ฉุกเฉิน และเงินกู้สามัญจากสหกรณ์ข้าราชการ สหกรณ์จํากัด และ 3) เปรียบเทียบปัจจยที่กำหนดความสามารถในการชำระหนี้ของสมาชิกระหว่างเงินกู้ ฉุกเฉิน และเงินสามัญของสหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์จํากัด ประชากรของการศึกษาคร้ังนี้คือ สมาชิกสหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์จํากัด ที่มีหนี้สินกับ สหกรณ์ในวันสิ้นปีทางบัญชชี 2555 (31 ธันวาคม 2555) จํานวน 5,014 คน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างกำหนด ขนาดตัวอย่างตามสูตรของ ทาโร่ยามาเน่จํานวน 371 คน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือ ที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม และแบบรวบรวมขอมูลทุติยภูมิสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบดวย้ สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์โดยใชเทคนิคการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติคเพื่อสร้างแบบจำลองโลจิท ผลการศึกษา พบว่า 1) แบบจาลองโลจิท เพื่อทำนายความสามารถในการชำระหนี้ ของกลุ่ม ตัวอย่าง ดังนี้ (1) เงินกู้ฉุกเฉิน ตัวแปรที่ศึกษาสามารถร่วมกันอธิบายความน่าจะเป็นในการเกิดความสามารถ ในการชำระหนี้ร้อยละ 11.80 (R2 = 0.118) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยปัจจยที่มีอิทธิพลต่อ ความสามารถในการชำระหนี้ คืออายุสถานที่อยู่ปัจจุบัน อาชีพคู่สมรสของสมาชิกจํานวนเงินที่ฝากกับ สหกรณ์ของสมาชิกและจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระต่องวด (2) เงินกู้สามัญ ตัวแปรที่ศึกษาสามารถร่วมกัน อธิบายความน่าจะเป็นในการเกิดความสามารถในการชำระหนี้ร้อยละ 7.40 (R2 = 0.074) ที่ระดับนัยสำคัญ ทางสถิติ 0.05 โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการชำระหนี้คือ สถานที่อยู่ปัจจุบัน และจํานวนเงิน ที่ฝากกับสหกรณ์ของสมาชิก 3) เปรียบเทียบปัจจัยที่กำหนดความสามารถในการชำระหนี้ของกลุ่มตัวอย่าง ระหว่างเงินกู้ฉุกเฉินกับเงินกู้สามัญพบว่า เงินกู้ฉุกเฉินมีปัจจัยที่กำหนดความสามารถ ในการชำระหนี้ 5 ปัจจัย ได้แก่ อายุสถานที่อยู่ปัจจุบัน อาชีพคู่สมรสของสมาชิกจํานวนเงินที่ฝากกับสหกรณ์ของสมาชิกและจำนวน เงินที่ต้องผ่อนชำระต่องวด ส่วนเงินกู้สามัญมีปัจจัยที่กำหนดความสามารถในการชำระหนี้เพียง 2 ปัจจัย ได้แก่สถานที่อยู่ปัจจุบัน และจำนวนเงินที่ฝากกับสหกรณ์ของสมาชิก ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยเหมือนกับเงินกู้ฉุกเฉิน |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2362 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
140971.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.68 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License