กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2367
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดแพร่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for development of a business network of cooperatives and farmer groups in Phrae Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุมพล อุดมภาคสกุล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
เครือข่ายธุรกิจ
สหกรณ์การเกษตร
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจของสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดแพร่ (2) ศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจของ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดแพร่ และ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจของ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดแพร่ การศึกษานี้เป็นการศึกษาในรูปแบบของการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาเฉพาะการเชื่อมโยงเครือข่ายด้าน ธุรกิจ ซึ่งใช้ทั้งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ โดยศึกษาสภาพทั่วไปของการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจจากข้อมูลทุติย ภูมิของหน่วยงานต่างๆ ศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมและแนวทางการพัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจจากข้อมูล ปฐมภูมิ โดยการสำรวจความคิดเห็นด้วยแบบสอบถาม และนำผลที่ได้จากแบบสอบถามเข้าสู่การสนทนากลุ่ม เพื่อยืนยันและกำหนดจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจของ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดแพร่ ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพทั่วไปของการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ มีสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร ร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ จำนวน 68 แห่ง รูปแบบการเชื่อมโยงเครือขายธุรกิจแบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 สหกรณ์กับสหกรณ์ รูปแบบที่ 2 สหกรณ์กับกลุ่มเกษตรกร รูปแบบที่ 3 สหกรณ์ในจังหวัดแพร่กับสหกรณ์ใน จังหวัดอื่น ประเภทธุรกิจที่มีการเชื่อมโยงเครือข่าย ได้แก่ ธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจรับฝากเงิน และธุรกิจซื้อขายสินค้า (2) ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยที่เป็นจุดแข็ง คือ ด้านข้อบังคับ และด้านเจ้าหน้าที่สหกรณ์ และปัจจัยที่ เป็นจุดอ่อน คือ ด้านการเงิน ปัจจัยที่เป็นโอกาส ได้แก่ นโยบายรัฐ หน่วยงานสนับสนุน กฎหมาย และเทคโนโลยี ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ได้แก่ คู่แข่งขันทางการค้า สภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน (3) แนวทางการพัฒนาการ เชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ คือ จะต้องสร้างข้อตกลงร่วมกัน จัดกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ การ กำหนดเงื่อนไขพิเศษ และการสร้างเครือข่ายธุรกิจระดับอำเภอให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นฐานขยายสู่การเชื่อมโยง เครือข่ายธุรกิจในระดับที่กว้างขึ้นต่อไป
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2367
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
128356.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.57 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons