กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2368
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมของบุคคล: กรณีศึกษาเจ้าหน้าที่กรมการปกครองจังหวัดนครปฐม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Determinants of personal saving behavior: a case study of Local Government Officials in Nakhon Pathom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เรวดี จรุงรัตนาพงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณิชนันทน์ รัตน์ไทรแก้ว, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี.
ข้าราชการ -- การเงินส่วนบุคคล
การประหยัดและการออม
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการออม และ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อ การออมของข้าราชการและลูกจ้าง สังกัดกรมการปกครองในจังหวัดนครปฐม โดยการวิเคราะห์ ปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการออม และปัจจัยทางจิตวิทยาของข้าราชการและลูกจ้าง สังกัด กรมการปกครองในจังหวัดนครปฐม การศึกษาข้อมูลปฐมภูมินี้ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่าง ทั้งหมด 100 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยใช้สถิติเบื้องต้นและการวิเคราะห์สมการ ถดถอยด้วยแบบจำลองโทบิตในการหาปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณเงินออมของบุคคล ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการออมของเจ้าหน้าที่กรมการปกครองจังหวัด นครปฐมร้อยละ 80 มีการออมเงิน และร้อยละ 20 ไม่มีการออมเงิน โดยเงินออมเฉลี่ยต่อครัวเรือน อยู่ที่ 8,920 บาทต่อเดือน ระยะเวลาการออมเฉลี่ย 11.59 ปี ซึ่งร้อยละ 43.8 ออมเงินแยกตาม วัตถุประสงค์ แหล่งเงินฝากส่วนใหญ่คือ ธนาคาร และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณเงินออมอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ รายได้ และปัจจัยด้านจิตวิทยา ได้แก่ การออมเงินแบบแบ่งบัญชีในใจ การ ควบคุมตนเอง และพฤติกรรมความเสี่ยง โดยรายได้ส่งผลต่อปริมาณเงินออมในทางบวก บุคคลที่มี การออมเงินแบบแบ่งบัญชีในใจมีโอกาสออมเงินมากกว่าคนที่ออมเงินเป็นก้อนเดียวและคนที่ไม่ ออมเงิน คนที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองมีแนวโน้มที่จะมีเงินออมน้อยกว่าคนที่ควบคุมตัวเองได้ และคนที่กลัวความเสี่ยงมีแนวโน้มที่จะมีเงินออมสูงกว่าคนที่ชอบความเสี่ยง
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2368
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
152087.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons