กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2375
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์เปรียบเทียบการจัดทำผลิตภัณฑ์จังหวัดในรูปแบบทางตรงและทางอ้อม : กรณีศึกษาจังหวัดลำพูน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A comparative analysis of the estimation of the gross provincial product by direct vs. indirect way : a case study of Lamphun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริพร สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทิวากร ไชยฮั่ง, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ผลิตภัณฑ์
การเปรียบเทียบจุดเด่น (การจัดการ)
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความแตกต่างของการจัดเก็บข้อมูลระหว่าง วิธีทางตรงและทางอ้อม (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่กำหนดความแตกต่างระหว่างวิธีทางตรงและทางอ้อม (3) ศึกษาว่าวิธีการจัดเก็บแบบใดมีความเหมาะสมและสามารถสะท้อนถึงสภาพเศรษฐกิจจังหวัด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำข้อมูลผลิตภัณฑ์ จังหวัดลำพูนปี พ.ศ. 2549 ซึ่งจัดเก็บแบบทางข้อมูลของสำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มาเปรียบเทียบกับการจัดเก็บ ผลิตภัณฑ์จังหวัดแบบทางตรง ที่จัดเก็บโดยคณะทำงานการจัดทำผลิตภัณฑ์จังหวัดลำพูน ซึ่งใช้ การวิเคราะห์ทางสถิติอย่างง่าย โดยใช้แผนภูมิ กราฟ ตารางเปรียบเทียบ และสถิติในเชิงพรรณนา ในรูปแบบของสัดส่วน และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า (1) มูลค่าเพิ่มการผลิต โครงสร้างการผลิต อัตราการขยายตัว และ อัตราการขยายตัว ที่แท้จริงระหว่างปีของผลิตภัณฑ์จังหวัดลำพูน ทั้ง 2 วิธี มีความแตกต่างกันมาก ทั้งภาพรวมของจังหวัด และในรายสาขาการผลิต (2) ปัจจัยที่กำหนดให้การจัดทำผลิตภัณฑ์จังหวัด ทั้งสองวิธีมีความแตกต่างกัน คือวิธีการจัดเก็บที่แตกต่างกัน (3) การจัดเก็บโดยวิธีทางตรงมีความ เหมาะสม และสามารถสะท้อนให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจที่แท้จริงของจังหวัด ได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากกว่าการจัดเก็บโดยวิธีทางอ้อม ดังนั้นจากการศึกษาจังหวัดควรประเมินการจัดทำ ผลิตภัณฑ์จังหวัดทั้งสามด้านเพื่อเป็นการสอบทานความถูกต้องของข้อมูล และควรมีหน่วยงาน หลักที่เป็นหน่วยงานกลางทางวิชาการและการประมวลผลที่สามารถให้คำแนะนำและทำความ เข้าใจในกรอบแนวคิด วิธีการประมวลผล และการคำนวณผลิตภัณฑ์จังหวัดได้อย่างต่อเนื่อง
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2375
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
117764.pdf10.04 MBเอกสารฉบับเต็มดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons