Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2377
Title: แนวทางการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวของกลุ่มผู้ผลิตไม้ดอกเมืองหนาวเบตง จังหวัดยะลา
Other Titles: Approaches for tourism business management of the Betong temperate zone flower production group in Yala Province
Authors: ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
เจษฎา ดำรงคดี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว--การจัดการ
การท่องเที่ยว--การจัดการ--ไทย--ยะลา
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศักยภาพการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวของกลุ่มผู้ผลิต ไม้ดอกเมืองหนาวเบตง 2) จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคการบริหารจัดการธุรกิจท่องเที่ยวของกลุ่มผู้ผลิตไม้ดอกเมือง หนาวเบตงและ 3) เสนอแนวทางในการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวของกลุ่มผู้ผลิตไม้ดอกเมืองหนาวเบตงจังหวัดยะลา ประชากรที่ศึกษาประกอบด้วยนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในกลุ่มผู้ผลิตไม้ดอกเมืองหนาวเบตงโดยเจาะจง จำนวน 50 คน และ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวในกลุ่มผู้ผลิตไม้ดอกเมืองหนาวเบตง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การศึกษา นักท่องเที่ยว ใช้แบบสอบถาม และการประชุมระดมความคิดแบบมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการจัดลำดับ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มที่ 1) ศักยภาพการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวของกลุ่มผู้ผลิตไม้ดอกเมืองหนาวเบตงใน มุมมองของนักท่องเที่ยว ด้านแหล่งท่องเที่ยวและด้านการนำเที่ยวค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านการคมนาคม ด้านสถานที่พัก ด้านความปลอดภัย เฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ด้านสินค้าพื้นเมือง/ของที่ระลึก เฉลี่ยอยู่ในระดับน้อยที่สุด ส่วนด้านความ เป็นมิตรของผู้คนในท้องถิ่น เฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2) จุดแข็ง คือสมาชิกและคณะกรรมการกลุ่มมีความพร้อมต่อการ พัฒนากลุ่ม มีทัศนคติที่ดีต่อการท่องเที่ยวในกลุ่ม สามารถพูดได้หลายภาษา และมีญาติ เพื่อนในประเทศที่เป็นกลุ่ม นักท่องเที่ยวหลัก จุดอ่อน คือ คณะกรรมการขาดประสบการณ์การบริหารจัดการธุรกิจท่องเที่ยว กลุ่มมีเงินทุนหมุนเวียนน้อย ขาดแคลนเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการดำเนินธุรกิจ การประชาสัมพันธ์ยังไม่ต่อเนื่องและ สินค้าพื้นเมือง/ของที่ระลึกมีน้อย ไม่เป็นเอกลักษณ์ โอกาส คือ เป็นแผนแม่บทส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด มีหน่วยงานภาครัฐและองค์กรต่างๆ ให้การ สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง อุปสรรค คือ สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ไม่มีรถประจำทางเข้าถึงกลุ่มผู้ผลิต กฎหมาย ขั้นตอน วิธีการเกี่ยวกับการประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ และการติดต่อสื่อสารในพื้นที่กลุ่ม 3) แนวทางในการจัดการธุรกิจ ท่องเที่ยวของกลุ่มด้านการจัดการทรัพยากรท่องเที่ยว คือให้มีการอบรมและจัดกิจกรรมปลูกจิตสำนึกการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องและสมาชิก มีการทำแผนการท่องเที่ยว โดยกำหนดกิจกรรมการท่องเที่ยว ในกลุ่มผู้ผลิตไม้ดอกเมืองหนาวเบตงและเชื่อมโยงเครือข่ายกับสถานที่ท่องเที่ยวในบริเวณเดียวกัน มีแผนการ ส่งเสริมอาชีพให้กับสมาชิกกลุ่ม กำหนดแผนการรวบรวมผลผลิต สินค้าของสมาชิกกลุ่ม คนในชุมชน รวมทั้งการ ผลิตสินค้าและของที่ระลึก เพื่อจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว มีแผนการจัดหาอุปกรณ์สนับสนุนการท่องเที่ยว เพื่อ ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว มีแผนการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ สร้างเว็บไซด์กลุ่ม เพื่อแจ้งข้อมูลการท่องเที่ยว และก่อตั้งศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยว ด้านการจัดการกลุ่ม คือกลุ่มต้องจัดทำ แผนการบริหารจัดการการท่องเที่ยว การนำแผนสู่การปฏิบัติและการควบคุม ติดตาม ประเมินผล เพื่อปรับปรุง แก้ไขการบริหารจัดการธุรกิจท่องเที่ยวให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2377
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
151910.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.38 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons