กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2388
ชื่อเรื่อง: โครงการก่อสร้างสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม : กรณีศึกษาผลกระทบต่อชุมชนในเขตอำเภอพระประแดงและคลองเตย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Industrial ring road bridge project : a case study of the impacts on the community of Phrapradaeng and Klong Toey Districts
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริพร สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธีระ เอี่ยมสอาด, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
สะพาน -- ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
ต้นทุนและประสิทธิผล
สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลกระทบของการสร้างสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม ที่มีต่อรายได้การประหยัดเวลา ระยะทาง และ ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่หนึ่ง พนักงานขับรถบรรทุก 10 ล้อ ในพื้นที่ท่าเรือคลองเตย กลุ่มที่สอง ชุมชนในอำเภอพระประแดง โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม สัมภาษณ์และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษา ใช้การคำนวณค่าใช้จ่าย และมูลค่าเวลาในรูปของการเปรียบเทียบกับ หน่วยเทียบเท่ารถยนต์ส่วนบุคคล (Personal Car Unit : PCU) ในการประเมินต้นทุนและ ผลประโยชน์ของโครงการ ผลการศึกษาในส่วนของพนักงานขับรถบรรทุก พบว่ามีการประหยัดเวลาในการ เดินทางต่อเที่ยวของรถบรรทุก 10 ล้อเท่ากับ 33 นาทีต่อเที่ยว ส่วนการลดระยะทางในการ เดินทาง พบว่าลดระยะทางในการเดินทางได้ 8.05 กิโลเมตรต่อเที่ยว กลุ่มตัวอย่างผู้ขับรถบรรทุก ประเมินว่าสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม สามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการเดินทาง ในระดับปานกลางร้อยละ 67 และประหยัดในระดับอย่างมากถึงร้อยละ 23 ในส่วนผลกระทบต่อประชากรในอำเภอพระประแดง พบว่า 1. ระดับรายได้ของกลุ่ม ร้านค้าแผงลอยลดลง เนึ่องจากผู้ใช้ยานยนต์เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางใหม่ ทำให้ มีผู้ใช้บริการลดลงอย่างมาก 2. แรงงานที่ทำงานในแพขนานยนต์ ซึ่งเป็นการบริการรับส่งยานยนต์ ข้ามฝากแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างถนนสุขสวัสดิ์กับถนนปู่เจ้าสมิงพราย ผลของการมีโครงการทำให้ จำนวนแพขนานยนต์จาก 35 ลำ ลดเหลือเพียง 10 ลำ ทำให้มีแรงงานตกงาน จำนวน 200 ราย ทำให้ขาดรายได้รวม ประมาณเดือนละ 2.2 ล้านบาท 3. โครงการนี้ทำให้ปริมาณการจราจรลดลง มาก ส่งผลให้สภาพการจราจร ในพื้นที่อำเภอพระประแดง มีสภาพเบาบางลงมากและสภาพมลพิษ ทางอากาศก็ลดลงด้วยอย่างมาก
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2388
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
112655.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons