Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/239
Title: หัตถกรรมการสานใบลานปลาตะเพียน : กรณีศึกษาชาวบ้านตำบลท่าวาสุกรี และตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Other Titles: The tapian fish palm leaves weaving handicrafts : a case study of Tha Wasukri and Phu Khao Thong Sub-districts Phra Nakhon Si Ayutthaya District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province
Authors: สุดจิต เจนนพกาญจน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สรายุทธ ยหะกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุจิตราพร โพธิ์ประดิษฐ์, 2527
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์
หัตถกรรม--ไทย--พระนครศรีอยุธยา
ใบลาน
เครื่องจักสาน
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของหัตถกรรมพื้นบ้านการสานปลาตะเพียนใบลาน (2) ปัญหาและอุปสรรคของการประกอบอาชีพหัตถกรรมพื้นบ้านการสานปลาตะเพียนใบลาน (3) แนวทางการแกไขปัญหาอุปสรรคและการพัฒนาอาชีพหัตถกรรมพื้นบ้านการสานปลาตะเพียนใบลาน ของชาวตำบลท่าวาสุกรี และตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ทั้งสิ้น จำนวน 45 คน จำแนกเป็นกลุ่มเป้ าหมายในพื้นที่ตำบลท่าวาสุกรี จำนวน 24 คน ประกอบด้วยผู้รู้ ผู้นำชาวบ้าน จำนวน 7 คน นักวิชาการ จำนวน 2 คน ผู้ประกอบการจำนวน 5 คน นักท่องเที่ยว จำนวน 10 คน และกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลภูเขาทอง จำนวน 21 คนประกอบด้วยผู้รู้ ผู้นำ ชาวบ้าน จำนวน 4 คน นักวิชาการ จำนวน 2 คน ผู้ประกอบการ จำนวน 3 คน พนักงานเทศบาลกองสวัสดิการและสังคม จำนวน 2 คน นักท่องเที่ยวจำนวน 10 คน โดยการศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ประวัติความเป็นมาของหัตถกรรมพื้นบ้านการสานปลาตะเพียนใบลานเริ่มโดยชาวไทยมุสลิมที่ประกอบอาชีพค้าขายเครื่องเทศและอาศัยในเรือ มีชีวิตผูกพันกับลำน้ำเจ้าพระยามากกว่า 200 ปี จึงคุ้นเคยกับปลา ที่มีลักษณะงดงามสะดุดตาคือ ปลาตะเพียน จึงประดิษฐ์ รูปปลาตะเพียนจากวัสดุในท้องถิ่น เช่นใบตอง ใบมะพร้าว ต่อมาได้ พัฒนาเป็นการใช้ใบลาน เนื่องจากมีความแข็งแรงทนทาน วัตถุประสงค์ในการ ใช้งานเพื่อแขวนประดับ และเป็น ของเล่นสำหรับลูกหลาน และมีการพัฒนาการตกแต่งสี และลาย แบบต่างๆซึ่ง เป็นการผลิตเพื่อการค้า พร้อมกับการประยุกต์ใช้วัสดุสังเคราะห์ชนิดอื่นเช่นหลอด และ พลาสติก แต่ ไม่ได้รับ การตอบรับจากตลาด จึงเน้นการผลิตและรักษารูปแบบของการใช้ใบลานมาจนปัจจุบัน (2) ปัญหาอุปสรรคของ การประกอบอาชีพการสานปลาตะเพียนใบลานของชาวบ้าน มาจากการขาดแคลนวัตถุดิบ ขาดแคลนแรงงาน และ การกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง ส่งผลให้ผู้ผลิตมีรายได้น้อยลง (3) แนวทางการแก้ไขปัญหา อุปสรรคและการ พัฒนาอาชีพการสานปลาตะเพียนใบลาน ควรได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจากภาครัฐ และเอกชนโดยเฉพาะด้าน การพัฒนารูปแบบให้สวยงาม ตลอดจนบรรจุภัณฑ์ และสถานที่จัดจำหน่าย รวมทั้งการรณรงค์ จัดกิจกรรมการเผยแพร่ งานศิลปะการสานใบลานปลาตะเพียนสู่เยาวชน เพื่อปลูกฝังให้เกิดความหวงแหนในมรดกวัฒนธรรม ของชุมชน
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/239
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
150607.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.48 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons