Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2390
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการถือเหรียญกษาปณ์ของร้านค้าปลีกแบบเน้นสินค้าราคาถูก สาขาต่างจังหวัดจากการให้บริการจ่ายแลกเหรียญกษาปณ์ของสำนักงานคลังจังหวัด กรณีเทสโก้โลตัสและบิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์
Other Titles: Factors effecting the demand for coins of the chain discount stores in the provinces from the exchange service of province treasury offices : a case study of Tesco Lotus and Big C Super Center
Authors: สุชาดา ตั้งทางธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา
นงค์นุช กิติรัตน์, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ความต้องการถือเงิน
เหรียญกษาปณ์ -- อุปสงค์
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
บริโภคศึกษา
Issue Date: 2546
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการ ถือเหรียญกษาปณ์ของร้านค้าปลีกแบบเน้นสินค้าราคาถูกสาขาต่างจังหวัดจากการให้บริการจ่าย แลกเหรียญกษาปณ์ของสำนักงานคลังจังหวัด กรณีเทสโก้ โลตัส และ บิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ ศึกษาโดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากแบบสอบถามโดยการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา เกี่ยวกับพฤติกรรมการขอใช้บริการแลกเหรียญกษาปณ์กับสำนักงานคลังจังหวัด และการวิเคราะห์ โดยใช้สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) และประมาณค่าสัมประสิทธิ์ด้วยวิธีกำลังสอง น้อยที่สุด (Ordinary Least Square : OLS) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อความต้องการถือ เหรียญกษาปณ์ของร้านค้าปลีกแบบเน้นสินค้าราคาถูก ได้แก่ รายได้ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นต่อครั้งใน การเดินทางไปแลกเหรียญกษาปณ์ และจำนวนครั้งที่เดินทางไปแลกเหรียญกษาปณ์กับสำนักงาน คลังจังหวัดโดยอาศัยแนวคิดความต้องการถือเงินตามแบบจำลองของ Baumol และ Tobin ผลการศึกษาพบว่าร้านค้าปลีกแบบเน้นสินค้าราคาถูกกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้บริการ แลกเหรียญกษาปณ์กับสำนักงานคลังจังหวัด เนื่องจากเห็นว่าเหรียญกษาปณ์เป็นสิ่งจำเป็นมากที่สุด และมีเหรียญกษาปณ์ให้เลือกทุกชนิดราคา ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการถือเหรียญกษาปณ์ ของร้านค้าปลีกแบบเน้นสินค้าราคาถูกได้แก่รายได้จากการขาย ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และจำนวนครั้ง ที่เดินทางไปแลกเหรียญกษาปณ์จากสำนักงานคลังจังหวัด โดยรายได้จากการขายมีความสัมพันธ์ ในทางเดียวกันและจำนวนครั้งที่การเดินทางไปแลกเหรียญกษาปณ์มีความสัมพันธ์ในทางตรงข้าม สอดคล้องตามทฤษฎีความต้องการถือเงินและผลการศึกษาเชิงประจักษ์ที่มีผู้ศึกษาไว้ ในขณะที่ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นต่อครั้งในการเดินทางไปแลกเหรียญกษาปณ์มีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามซึ่ง ไม่เป็นไปตามทฤษฎีความต้องการถือเงินตามแบบจำลองของ Baumol และ Tobin
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2390
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
83431.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.6 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons