กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2392
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลให้เกิดการลาออกของบุคลากรด้านบัญชีของกลุ่มบริษัทธุรกิจกระดาษในเขตนิคมอุตสาหกรรม 304
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting resignation of accounting staff in the paper business group in 304 Industrial Estates
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัชฎาพร เลิศโภคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นงลักษณ์ สมเชื้อ, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
นักบัญชี -- การลาออก
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยด้านบุคคลที่ส่งผลต่อการลาออกของ บุคลากร ด้านบัญชี ของกลุ่มบริษัทธุรกิจกระดาษ 2) ปัจจัยด้านองค์กรที่ส่งผลต่อการลาออกของ บุคลากรด้านบัญชี ของกลุ่มบริษัทธุรกิจกระดาษ และ 3) ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการลาออก ของบุคลากรด้านบัญชี ของกลุ่มบริษัทธุรกิจกระดาษ ในเขตนิคมอุตสาหกรรม 304 การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการเชิงสำรวจ โดยทำการเก็บข้อมูลปฐมภูมิจากแบบสอบถามที่ เก็บรวบรวมจากบุคลากรด้านบัญชี ซึ่งทำงานในกลุ่มบริษัทธุรกิจกระดาษ ในเขตอุตสาหกรรม 304 จำนวน 42 บริษัท โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ขนาดของตัวอย่างกำหนดโดยใช้สูตร การคำนวณของ ทาโร่ ยามาเน่ ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติอย่างง่าย ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในส่วนของข้อมูลด้านองค์กรที่ส่งผล ต่อการลาออก วิเคราะห์โดยใช้ไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยด้านบุคคลที่ส่งผลต่อการลาออกจากงาน คือ ปัจจัยด้าน รายได้ ส่วนปัจจัยด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ประสบการณ์ทำงาน ด้านบัญชี ค่าใช้จ่าย และจำนวนครั้งของการเปลี่ยนงานในรอบสิบปีไม่ส่งผลต่อการลาออก ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 2) ปัจจัยด้านองค์กรที่ส่งผลต่อการลาออก ได้แก่ ปัจจัยด้านเงินเดือน และสวัสดิการ ส่วนปัจจัยด้านการบริหารงาน ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา และเพื่อน ร่วมงาน ด้านสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการปกครองบังคับบัญชา และด้าน ความมั่นคงในงานไม่ส่งผลต่อการลาออก ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 3) ปัญหาที่ส่งผลต่อ การลาออกของพนักงานมากที่สุดคือ ปัญหาด้านสวัสดิการที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ และ แนวทางแก้ไขคือ ให้ปรับปรุงสวัสดิการของพนักงาน
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2392
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
150173.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons