Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2393
Title: การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของครัวเรือนในเขตและนอกเขตเทศบาล : กรณีศึกษา อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ
Other Titles: Comparison of factors affecting the saving behavior of households inside and outside municipality area : a case study of Banthaen District, Chaiyaphum Province
Authors: ศิริพร สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นงเยาว์ บำรุงราษฎร์, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การประหยัดและการออม
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมการออมและรูปแบบการ ออมของครัวเรือนในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ 2) วิเคราะห์ ปัจจัยที่มีผลต่อการออมของครัวเรือนในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล อำเภอบ้านแท่น จังหวัด ชัยภูมิ 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการออมของครัวเรือนในเขตเทศบาลและนอกเขต เทศบาล อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ การศึกษาครั้งนื้ได้ทำการวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องและข้อมูลปฐมภูมิ ซึ่งได้จากการเก็บข้อมูลจากการสำรวจโดยใช้การสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างตามแบบสอบถามที่กำหนด ขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรของ Taro Yamane ที่ระดับความคลาดเคลื่อนร้อยละ 10 ได้กลุ่มตัวอย่าง ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล จำนวนแห่งละ 100 ครัวเรือน รวมเป็น 200 ครัวเรือน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) ครัวเรือนนอกเขตเทศบาลจะมีการออมเงินมากกว่าครัวเรือนในเขต เทศบาล และครัวเรือนทั้งสองแห่งจะมีรูปแบบการออมเงินเหมือนกัน คือ ออมกับสถาบันการเงิน กลุ่มออมทรัพย์และกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เงินออมต่อปีของครัวเรือนทั้งสองแห่งไม่เกิน 20,000 บาท และแรงจูงใจในการออมของครัวเรือนทั้งสองแห่งเหมือนกัน คือ เพื่อต้องการเตรียม ความพร้อมเข้าสู่วัยชรา 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการออมของครัวเรือนทั้งสองกลุ่มเหมือนกัน มีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 มี 1 ปัจจัย คือ รูปแบบการออมและปัจจัยที่มีผลต่อการออมของครัวเรือนทั้ง สองกลุ่มเมื่อนำมารวมกัน มี 3 ปัจจัย คือ ค่าใช้จ่ายในการบริโภค ค่าใช้จ่ายในการลงทุน และ รูปแบบการออม 3) ปัญหาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคที่สูงขึ้นเป็นอุปสรรคที่ส่งผลต่อการออมของ ครัวเรือนทั้งสองแห่งเป็นอันดับแรก
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2393
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
143410.pdfเอกสารฉบับเต็ม971.98 kBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons