กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2394
ชื่อเรื่อง: โครงสร้างตลาดและพฤติกรรมการแข่งขันของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในประเทศไทยหลังวิกฤติเศรษฐกิจ 2540
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The market structure and conduct of cement industry in Thailand after 1997 economic crisis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มนูญ โต๊ะยามา, อาจารย์ที่ปรึกษา
นฤนาท พันธหชาติ, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ -- การตลาด -- ไทย
โครงสร้างตลาด
การแข่งขันทางการค้า
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) ศึกษาสภาพทั่วไปของอุตสาหกรรม ปูนซีเมนต์ประกอบด้วยโครงสร้างการตลาด โครงสร้างการผลิต เป้าหมายและกลยุทธิ์ อุตสาหกรรมในปัจจุบัน (2) วิเคราะห์พฤติกรรมการแข่งขันด้านราคาและไม่ใช่ราคาของผู้ผลิตหลัง วิกฤติเศรษฐกิจ (3) ศึกษาผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ภายหลังจาก ผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายใหญ่จากต่างประเทศเข้ามาร่วมทุน ผลการวิจัยพบว่า อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในประเทศไทยมีผู้ผลิต จำนวน 8 ราย โดยมี โครงสร้างตลาดแบบผู้ขายน้อยราย ในลักษณะที่เป็นอุตสาหกรรมที่ผู้ผลิตมีการผลิตและจำหน่าย สินค้าที่มีลักษณะต่างกัน สินค้ามีลักษณะที่แตกต่างกันในสายตาผู้ซื้อ แต่สามารถทดแทนกันได้ดี ในขณะที่มีอุปสรรคในการเข้ามาแข่งขัน เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนสูงและต้องมีระดับการผลิตที่ เหมาะสมเพื่อก่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด โครงสร้างของอุตสาหกรรมมีการกระจุกตัวสูง โดยมี ผู้ผลิต 3 รายใหญ่ คือ บมจ.ปูนซีเมนต์ไทย บมจ. ปูนซีเมนต์นครหลวง บมจ. มีพีไอโพลีน ที่มี ส่วนแบ่งการตลาดรวมกันสูงเกือบร้อยละ 86 ซึ่งผู้นำตลาดมีอิทธิพลในการชี้นำตลาดได้ สำหรับการแข่งข้นด้านราคาหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 มีการแข่งขันที่รุนแรงกว่า อย่างชัดเจน ดังจะเห็นได้จากราคาจำหน่ายจริงที่ตํ่ากว่าราคาเพดานค่อนข้างมากโดยใซ้ “อัตราส่วนลด” เป็นเครื่องมือในการแข่งข้น โดยอยู่ในช่วงระหว่าง ร้อยละ 10 - 50 สำหรับปี 2545 อยู่ที่ช่วง ระหว่าง ร้อยละ 10-15 จากราคาควบคุมซึ่งขึ้นอยู่กับสภาวะของตลาดและสภาพการแข่งขันในแต่ละ ช่วงเวลา โดยการกำหนดราคาหรือเปลี่ยนแปลงราคามักมีกำหนดราคาตามผู้นำตลาด แต่ทั้งนี้ผู้ผลิต แต่ละรายมักเป็นการกำหนดราคาให้ตํ่ากว่าผู้นำเล็กน้อย เพื่อให้สามารถแข่งข้นกับผู้นำได้ ส่วนการแข่งข้นที่ไม่ใช่ราคา จะเห็นได้ว่าผู้ผลิตมีการแข่งข้นที่ไม่ใช้ราคามากขึ้น ซึ่ง พอจะสรุปได้ 5 ประเด็นดังนี้ คือ ระบบการจัดจำหน่าย การทำผลิตภัณฑ์ให้แตกต่างจากคู่แข่ง การส่งเสริมการขายและโฆษณา การวิจัยและพัฒนาผลิตกัณฑ์การผลิตสินค้าครบวงจร ต่างจากเติม ช่วงก่อนวิกฤติที่ทำการตลาดแบบถ้อยมีถ้อยอาศัยกัน
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2394
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
83432.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons