กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2407
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการบริโภคของครัวเรือน : กรณีศึกษาครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันในอำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Household consumption behavior : case study of palm oil farmer households in Khaophanom District, Krabi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิตยา นวลศิริ, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ครัวเรือน -- ไทย -- กระบี่
พฤติกรรมผู้บริโภค -- ไทย -- กระบี่
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภค และ 2) วิเคราะห์ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภค การออมและการลงทุนของครัวเรือนเกษตรกร ชาวสวนปาล์มน้ำมัน ในอำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์คือข้อมูลปฐมภูมิที่ได้มาจากการ สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 ตัวอย่าง ในปี พ.ศ. 2553 ผลจากการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เฉลี่ย 47.24 ไร่ต่อ ครัวเรือน ผลผลิตปาล์มน้ำมัน ที่ได้รับเฉลี่ย 6,898 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี มีรายได้จากการขายผลผลิต ปาล์มน้ำมัน เฉลี่ย 24,882 บาทต่อไร่ต่อปี โดยส่วนใหญ่ ค่าเฉลี่ยในการออมต่อปี เป็นเงิน 113,607 บาท ค่าเฉลี่ยในการลงทุนต่อปีเงิน 203,077 บาท และค่าเฉลี่ยในการอุปโภคบริโภคต่อปีเป็นเงิน 451,452.6 บาท ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเป็นค่าใช้จ่ายสูงสุด ส่วนการใช้จ่ายด้านต้นทุนการผลิต สูงสุดและมีสัดส่วนสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนประเภทอื่น คือค่าปุ๋ย 2) ปัจจัยที่มีผลกระทบ ต่อพฤติกรรมการบริโภค คือ พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน และรายได้ของหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกร ทั้ง 2 ตัวแปร มีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 ส่วนปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการออม ได้แก่ พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน และรายได้ของหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกร เช่นเดียวกัน ณ ระดับความ เชื่อมั่นร้อยละ 95 และร้อยละ 99 ตามลำดับ สำหรับ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการลงทุนได้แก่ พื้นที่ ปลูกปาล์มน้ำมัน ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และรายได้ของหัวหน้า ครัวเรือนเกษตรกร ณ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าครัวเรือนเกษตรกรที่มี พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน จำนวนมากเปรียบเสมือนการมีหลักประกันความมั่นคงของครัวเรือน จึงทำ ให้สามารถเสี่ยงที่จะลงทุนได้มากกว่าครัวเรือนที่มีพื้นที่น้อย อีกประเด็นหนึ่งที่เป็นที่น่าสังเกตคือ ครัวเรือนเกษตรกรมีพฤติกรรมการเลือกที่จะนำเงินรายได้มาใช้ในการลงทุนมากกว่าจะนำเงิน รายได้มาออม
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2407
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
137348.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.23 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons