Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2408
Title: ความรู้ ความเข้าใจและการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดพิจิตร
Other Titles: Knowledge, understanding and application of sufficiency economy philosophy for daily life of Co-operative and agricultural group members in Phichit Province
Authors: อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชุติมา ศรีสังข์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
เศรษฐกิจพอเพียง--เกษตรกรรม
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 2) ระดับความรู้ ความเข้าใจการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันของสมาชิก สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 3) การนำหลักปรัชญาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้นำการดำเนินชีวิตประจำวันของ สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 4) ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีผลต่อการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ในการดำเนินชีวิตของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร และ 5) ความสัมพันธ์เรื่องความรู้ ความเข้าใจ กับการนำหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพิจิตร จำนวน 5 แห่ง ดังนี้ คือ 1) สหกรณ์ผู้ใช้น้ำชาละวัน จำกัด 2) สหกรณ์โคนมการเกษตรพิจิตร จำกัด 3) สหกรณ์การเกษตรตำบลลำประดา จำกัด 4) กลุ่มเกษตรกรพอเพียงตำบลรังนก และ 5) กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ดงตะขบ แห่งละ 20 คน รวมทั้งสิ้น 100 คน โดยเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมดใช้ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติอ้างอิง ได้แก่ ค่าสหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีสถานะภาพสมรส มีอายุระหว่าง 41-50 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพทำนา มีรายได้ต่อเดือน 5,000-10,000 บาท ทั้งนี้ มีค่าใช้จ่ายต่อเดือน ระหว่าง 5,001-10,000 บาท มีเงินออมระหว่าง 10,001-50,000 บาท ได้รับข้อมูลข่าวสารจากโทรทัศน์ มีสมาชิกใน ครอบครัว 3 คน 2) สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงไปประยุกต์ใช้อยู่ในระดับดีมาก 3) การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตของ สมาชิกส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก 4) ข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีผลต่อการนำหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต 5) ความรู้ ความเข้าใจ ของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร มีความสัมพันธ์กับการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันของสมาชิกสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดพิจิตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ (P<0.05)
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2408
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
146269.pdfเอกสารฉบับเต็ม30.46 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons