กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2409
ชื่อเรื่อง: การออมของพนักงานเทศบาลในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Savings of municipal officers in Samphran District, Nakhonpathom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มนูญ โต๊ะยามา, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิตยา คูณมา, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การประหยัดและการออม -- ไทย -- นครปฐม
พนักงานเทศบาล -- การเงินส่วนบุคคล
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการออม 2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผล ต่อการออม 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการออม และ 4) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อ ปริมาณเงินออมของพนักงานเทศบาล ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม การศึกษาใช้ข้อมูลปฐมภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่าง ซึ่งเป็นพนักงานเทศบาล ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จำนวน 5 แห่ง จำนวน 300 คน โดยวิธี สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ การวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบจำลองการถดถอยโลจิสติก และการ ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) การออมของพนักงานเทศบาลที่ศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของเงิน ฝากกับธนาคารพาณิชย์ รองลงมา คือ การออมในรูปของเงินสด โดยมีวัตถุประสงค์การออม เพื่อสร้าง หลักประกันชีวิตและความมั่นคงทางการเงิน รองลงมา คือ เพื่อเก็บไว้ใช้จ่ายในยามชรา มีการออมเงินเฉลี่ย 2,560.46 บาทต่อเดือน และพบว่า ระยะเวลาการออมและรูปแบบการออม ขึ้นอยู่ กับประเภทพนักงาน ระยะเวลาการทำงานและรายได้ของพนักงาน ที่ระดับนัยสำคัญ .05 2) ปัจจัยส่วน บุคคลที่มีผลต่อโอกาสในการออมของพนักงานเทศบาล ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ได้แก่ อายุ และประเภท พนักงาน โดยอายุมีโอกาสในการออมในทิศทางตรงกันข้าม ส่วนพนักงานจ้างทั่วไปมีโอกาสในการ ออมมากกว่าพนักงานประเภทอื่น 3) ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการออม ปัจจัยด้าน ความมั่นคงมีผลต่อการออมในระดับสูงกว่าปัจจัยอื่นๆ รองลงมาด้านเศรษฐกิจและสังคม ผลตอบแทน และการโฆษณาและสิ่งจูงใจ และปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยเศรษฐกิจและสังคมที่ ระดับนัยสำคัญ .05 มากกว่าปัจจัยอื่น และ4) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อปริมาณเงินออมของพนักงาน เทศบาล ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ได้แก่ รายได้ ภาระหนี้สิน และค่าใช้จ่าย โดยรายได้มีความสัมพันธ์ใน ทิศทางเดียวกันกับปริมาณเงินออม ส่วนหนี้สิน ค่าใช้จ่าย มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับ ปริมาณเงินออม
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2409
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
150166.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons