กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2412
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จำกัด จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Saving behavior member's of the Suranaree University of Technology Savings and Credit Cooperatives Limited., Nakhon Ratchasima Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฐิติชญาณ์ เพิ่มผลสมบัติ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี--สมาชิก
การประหยัดและการออม
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางสังคม และ ปัจจัยด้านสหกรณ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของสมาชิก 2) พฤติกรรมการออมของสมาชิก และ3) ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางสังคม และปัจจัยด้านสหกรณ์กับพฤติกรรมการออมของสมาชิกสหกรณ์ ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จํากัด จังหวัดนครราชสีมา ประชากรที่ศึกษา คือ สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จํากัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2559 จํานวน 1,088 คน ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเนย์ จํานวน 293 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไคสแควร์ ผลการศึกษาพบวา 1) สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 41- 50 ปี ระดับการศึกษาสูงสุดระดับ ปริญญาตรี ตําแหน่งงานลูกจ้างประจํา/เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย สถานภาพโสด และ ระยะเวลาการเป็นสมาชิกสหกรณ์ 11-15 ปี รายได้และรายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท จํานวนผู้มีเงินได้ในครอบครัว 2 คน จํานวนคน ในครอบครัว มากกว่า 3 คน และ ไม่มีบุตรที่อยู่ระหว่างการศึกษา ระดับความสําคัญของปัจจัยด้านสหกรณ์โดย รวมอยูในระดับมาก ที่สําคัญ คือ รูปแบบการออมให้เลือกหลากหลาย และ ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของสหกรณ์ 2) พฤติกรรมการออมของสมาชิก ส่วนใหญ่ถือหุ้น 1,000-2,000 บาทต่อครั้ง ฝากเงินประเภทออมทรัพย์ 2,001- 3,000 บาทต่อครั้ง วัตถุประสงค์เพื่อต้องการออมทรัพย์เพิ่มเติมจากการสะสมค่าหุ้นรายเดือน และใช้จ่ายในวัยชรา/เจ็บป่วย/ จําเป็น และ บุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจในการออมคือ ตัวเอง และบุคคลในครอบครัว 3) พบว่ามี ความสัมพันธ์ของ ปัจจัยต่างๆ กับพฤติกรรมการออม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดย ปัจจัยส่วนบุคคล เพศ อายุระดับ การศึกษาสูงสุด ตําแหน่งงาน สถานภาพ และ ระยะเวลาการเป็นสมาชิกสหกรณ์มีความสัมพันธ์กับจํานวนเงินค่าหุ้น ต่อครั้ง ประเภทของเงินรับฝากและจํานวนเงินรับฝากต่อครั้ง ปัจจัยทางเศรษฐกิจรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ รายจ่าย เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับ จํานวนเงินค่าหุ้นต่อครั้ง ประเภทของเงินรับฝากและจํานวนเงินรับฝากต่อครั้ง ปัจจัยทางสังคม จํานวนผู้มีเงินได้ในครอบครัวจํานวนสมาชิกในครอบครัว และ จํานวนบุตรที่อยู่ระหว่างการศึกษา มีความสัมพันธ์กับจํานวนเงินค่าหุ้นต่อครั้ง ประเภทของเงินรับฝากและจํานวนเงินรับฝากต่อครั้ง ปัจจัยด้านสหกรณ์ รูปแบบการออมให้เลือกหลากหลาย ชื่อเสียง และความน่าเชื่อถือของสหกรณ์อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ผลตอบแทน ที่ได้รับเหมาะสม คุ้มค่า สิทธิประโยชน์ทางภาษีสถานที่ตั้ง สิ่งอํานวยความสะดวกการนําระบบคอมพิวเตอร์มา ให้บริการการบริการของเจ้าหน้าที่ และ การโฆษณา ประชาสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กับ จํานวนเงินค่าหุ้นต่อครั้ง ประเภทของเงินรับฝากและจํานวนเงินรับฝากต่อครั้ง
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2412
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
154966.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.42 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons