Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2413
Title: การวิเคราะห์บทบาทของภาครัฐและปัจจัยที่มีผลต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดพิจิตร
Other Titles: An analysis of the government role and factors that affect the economic growth of Phichit Province
Authors: สุชาดา ตั้งทางธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิภาพร ทองหล่อ, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
นโยบายเศรษฐกิจ -- ไทย
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
พิจิตร -- ภาวะเศรษฐกิจ
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสภาพทาง เศรษฐกิจของจังหวัดพิจิตร และ 2) วิเคราะห์บทบาทของภาครัฐและปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจของจังหวัดพิจิตร การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยใช้แบบจำลอง สมการถดถอยพหุคูณวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดกับปริมาณผลผลิต ทางการเกษตร รายได้เกษตรกร ปริมาณสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ กำลังแรงงาน รายจ่ายภาครัฐเพื่อ การบริโภค รายจ่ายภาครัฐเพื่อการลงทุน รายจ่ายรวมของหน่วยงานภาครัฐจากส่วนกลาง และรายจ่าย รวมของหน่วยงานส่วนท้องถิ่น โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิแบบอนุกรมเวลารายไตรมาส ตั้งแต่ปื พ.ศ.2544- 2553 ประมาณค่าพารามิเตอร์ ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด ผลการศึกษาสรุปได้ว่า 1) การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดพิจิตร ขึ้นอยู่กันสาขา การเกษตรเป็นหลัก โดยมีผลผลิตข้าวเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รองลงมาคือสาขาการขายส่งขายปลีก และสาขาอุตสาหกรรม 2) ภาครัฐมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หากรายจ่ายภาครัฐ เพื่อการบริโภค และรายจ่ายภาครัฐเพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด เพิ่มขึ้น 0.7381 และ 0.4127 หน่วยตามลำดับ หรือถ้าพิจารณารายจ่ายรวมของหน่วยงานภาครัฐจาก ส่วนกลางและงบประมาณรายจ่ายส่วนท้องถิ่นพบว่าหากรายจ่ายรวมของหน่วยงานภาครัฐจากส่วนกลาง เพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเพิ่มขึ้น 0.3164 หน่วย ขณะที่รายจ่ายรวมของ หน่วยงานส่วนท้องถิ่นไม่มีนัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดพิจิตร ส่วนปัจจัยทาง เศรษฐกิจอื่นๆ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดแสดงว่าเมื่อตัวแปรทาง เศรษฐกิจในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดพิจิตรเพิ่มขึ้นด้วย
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2413
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
130943.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.69 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons