กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2424
ชื่อเรื่อง: | การประเมินผลโครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อยผ่านสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดอุตรดิตถ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Evaluation of debt moratorium project for small farmers through cooperatives and farmer groups in Uttaradit Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ส่งเสริม หอมกลิ่น วัชรี โพธิ์ทรัพย์, 2529- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี เกษตรกร--หนี้.--ไทย--อุตรดิตถ์ การบรรเทาภาระหนี้ การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของเกษตรกรรายย่อย 2) ประเมินผลโครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อย 3) ความสัมพันธ์ของสภาพทั่วไปของเกษตรกรรายย่อย กับผลการประเมินโครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อย และ 4) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของเกษตรกรรายย่อยที่มีต่อโครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อยผ่านสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดอุตรดิตถ์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ สมาชิกสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อยผ่านสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดอุตรดิตถ์ ปี 2557 - 2558 จำนวน 594 ราย ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง กำหนดขนาดตัวอย่างตามสูตรของยามาเน่ จำนวน 239 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม การเก็บรวบรวมข้อมูลตามสัดส่วนของสมาชิกสหกรณ์แต่ละสหกรณ์และสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถิติที่ฃฃี่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไค-สแควร์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุ 50 ปี ขึ้นไป การศึกษาระดับประถม ศึกษา อาชีพหลัก ทำนา ขนาดพื้นที่ถือครอง 11-15 ไร่ เป็นที่ดินทำกินของตนเอง และส่วนใหญ่มีหนี้สินกับสหกรณ์ 2) ผลประเมินโครงการ ด้านปัจจัยนำเข้า ภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.91) ทั้งในด้านเงื่อนไข ข้อกำหนดและสิทธิสมาชิกในการเข้าร่วมโครงการด้านระเบียบขั้น ตอนการดำเนินงานของโครงการ และด้านงบประมาณและเงินชดเชย ตามลำดับ ด้านกระบวนการ ภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.96) ทั้งในด้านการเบิกจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ย กิจกรรมชดเชยดอกเบี้ย และกิจกรรมฟื้นฟูอาชีพ ตามลำดับ ด้านผลสัมฤทธิ์ของโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.85) ที่สำคีญ คือ (1) สมาชิกสามารถนำความรู้ที่ได้จากการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพไปใช้ในการประกอบอาชีพ (2) มีรายได้เพิ่มขึ้น (3) ความสามารถในกาชำระคืนเงินกู้ให้กับสหกรณ์ได้เพิ่มขึ้น และ (4) มีเงินออมเพิ่มขึ้นหลังจากเข้า ร่วมโครงการตามลำดับ ด้านความพึงพอใจในภาพรวมต่อกิจกรรมชดเชยดอกเบี้ย และกิจกรรมฟื้นฟูอาชีพ ในระดับมากทั้งสองด้าน 3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยสภาพทั่วไปของเกษตรกรรายย่อยกับผลการประเมินโครงการพักหนี้เกษตรกรรายยอ่ยอย่างมีนัยสำคัญระดับ 0.05 ได้แก่ (1) อาชีพหลัก มีความสัมพันธ์กับด้านกระบวนการ (2) ขนาดการถือครองที่ดิน และลัก ษณะการครอบครองที่ดินทํากิน มีความสัมพันธ์กับด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลสัมฤทธิ์ 4) ปัญหา อุปสรรคที่มีต่อโครงการได้แก่ การประชาสัมพันธ์โครงการไม่ถึงตัวสมาชิกทำให้สมาชิกไม่เข้าใจรายละเอียดและความเป็นมาของโครงการ ข้อเสนอแนะที่มีต่อโครงการคือ ควรเพิ่มอัตราชดเชยดอกเบี้ย และสหกรณ์ควรประชาสัมพันธ์โครงการ ให้กับสมาชิกได้รับรู้และเข้าใจถึงรายละเอียดของโครงการ |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2424 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext-153832.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.92 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License