กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2425
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์เปรียบเทียบการจัดทำผลิตภัณฑ์จังหวัดในรูปแบบทางอ้อมและทางตรง : กรณีศึกษาจังหวัดสุโขทัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A comparative analysis of the estimation of the gross provincial product by direct vs. indirect way : a case study of Sukhothai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริพร สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ สงวนวงษ์, 2500-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ผลิตภัณฑ์ -- สุโขทัย
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างและปัจจัยที่เป็น ตัวกำหนดความแตกต่างในการจัดทำผลิตภัณฑ์จังหวัดในรูปแบบทางอ้อม ดำเนินการโดยวิธีการ กระจายมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ จากในระดับภาพรวมพื้นที่ทั้งประเทศ จำแนกย่อย ออกมาเป็นตัวเลขผลิตภัณฑ์จังหวัด และวิธีการทางตรงเป็นการจัดเก็บข้อมูลกิจกรรมการผลิตทุก กิจกรรมที่เกิดขึ้นจริงในพึ้นที่ของแต่ละจังหวัดและนำมาคำนวณหามูลค่าเพิ่มตามวิธีการที่ สอดคล้องกับระบบบัญชีประชาชาติ ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ข้อมูลผลิตภัณฑ์จังหวัด ณ ราคาประจำปี พ.ศ.2546-2548 ซึ่งจัดเก็บด้วยวิธีทางอ้อมโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ และการจัดเก็บด้วยวิธีทางตรงโดยสำนักงานคลังจังหวัดสุโขทัย ในการเก็บรวบรวม ข้อมูล คึอ การศึกษาค้นคว้าเอกสารทางวิชาการ ผ่าน Website และหนังสือสั่งการ คู่มือ ต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องรวมทั้งการขอข้อมูลผลิตภัณฑ์จังหวัดโดยตรงจากเข้าของข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล คือ ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดทำผลิตภัณฑ์จังหวัดในรูปแบบทางล้อมและทางตรง มี ความแตกต่างกัน ในด้านมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้ ด้านโครงสร้างของสาขาการผลิต และอัตราการ เจริญเติบโตทางเศรบฐกิจ (2) ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความแตกต่าง ในการจัดทำผลิตภัณฑ์จังหวัด สุโขทัย คือ ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล การสำรวจข้อมูล การจัดประเภทของกิจกรรมในแต่ ละสาขาการผลิต การจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน และวิธีการคำนวณผลิตภัณฑ์จังหวัค (3) การใช้ ประโยขน์จากข้อมูลผลิตภัณฑ์พบว่าการจัดทำผลิตภัณฑ์จังหวัคด้วยวิธีทางตรง เป็นการจัดเก็บ ข้อมูลกิจกรรมทางเศรบฐกิจที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ สามารถแจกแจงรายละเอียดเจาะลึกถึงปัญหาและ อุปสรรค สถิติผลิตภัณฑ์จังหวัดใช้เป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2425
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
122063.pdfเอกสารฉบับเต็ม7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons