กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2429
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาแม่ทา จังหวัดลำพูน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the loan delinquency of customers of the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives Mae Tha Branch in Lamphun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณรงค์ จาตุรพจน์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
หนี้--ไทย
หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของลูกค้าที่มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของ ลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาแม่ทา จังหวัดลำพูน 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหนี้ที่ไม่ ก่อให้เกิดรายได้ 3) ปัญหา และข้อเสนอแนะของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาแม่ทา จังหวัดลำพูน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือลูกค้าที่มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาแม่ทา จังหวัดลำพูน จำนวน 242 คน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 154 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ สถิติทดสอบ ไคว์สแควร์ และการวิเคราะห์ปัจจัย ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพภาพทั่วไปลูกค้าที่มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 51 - 60 ปี ระดับการศึกษาประถมศึกษา สถานภาพสมรส สมาชิกครัวเรือน ระหว่าง 4 -6 คน อาชีพทำ สวนผลไม้ และรับจ้าง ระยะเวลาที่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. มากกว่า 10 ปี จำนวนหนี้ค้างชำระ 100,001-500,000 บาท เป็นหนี้เงินกู้ระยะยาว (กู้เพื่อลงทุน) ส่วนใหญ่เป็นหนี้ค้างชำระ การใช้เงินกู้ตามวัตถุประสงค์จริงร้อยละ 80-90 มี ทรัพย์สินมากกว่าภาระหนี้สินและ มีรายได้สุทธิต่ำกว่า 50,000 บาท หลักประกันส่วนใหญ่ใช้ที่ดินและบุคคลค้ำ ประกัน 2 คนใกล้เคียงกัน และปัญหาที่พบในรอบปี คือ ฝนแล้ง ลมพายุ และราคาผลผลิตตกต่ำ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อ การเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของลูกค้า ธ.ก.ส. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิต ปัจจัยด้านสภาพทั่วไปได้แก่ อายุของ สมาชิก ระดับการศึกษา และ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมได้แก่ ประเภท เงินการกู้ระยะสั้น เงินกู้ระยะยาว แหล่งเงินกู้เงินกู้อื่นๆ ทรัพย์สินต่อภาระหนี้สิน หลักประกัน การใช้ที่ดินค้ำ ประกัน และการใช้ที่ดินของบุคคลอื่นค้ำประกัน ภัยธรรมชาติ ได้แก่ ลมพายุ ไฟไหม้ น้ำท่วม และความเสียหาย จากสภาวะเศรษฐกิจ คือไม่มีผู้รับซื้อ ไม่สามารถขายผลผลิตได้ สำหรับระดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อหนี้ ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ตามลำดับความสำคัญ ดังนี้ ราคาผลผลิตตกต่ำ การกู้เงินระยะยาว ทรัพย์สินต่อภาระหนี้สิน การใช้ที่ดินของบุคคลอื่นค้ำประกัน การใช้ที่ดินค้ำประกัน ไม่สามารถขายผลผลิตได้ การกู้ระยะสั้นและไม่มีผู้รับ ซื้อผลผลิต 3) ปัญหา ด้านการส่งชำระหนี้ และการติดต่อขอกู้เงิน ข้อเสนอแนะได้แก่ การยืดเวลาในการชำระหนี้ การผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือน การลดดอกเบี้ยเมื่อประสบปัญหา การให้กู้เงินทุนหมุนเวียน และการให้กู้โดยมี อัตราดอกเบี้ยต่ำ
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2429
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
140840.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons