กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2434
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตอ้อยของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรหนองมะโมง จำกัด จังหวัดชัยนาท ปีการเพาะปลูก 2555/56 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Analysis of sugar cane production efficiency of Nong Mamong Agricultural Cooperatives Ltd., Members Chai Nat Province the Crop Year of 2012/2013 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ ณัฐชาภรณ์ เฉลยถิ่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี อ้อย--การผลิต--ไทย--ชัยนาท |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสหกรณ์การเกษตรหนองมะโมง จำกัด ในเรื่อง 1) ข้อมูล พื้นฐานของสมาชิกสหกรณ์ 2) แบบแผนการผลิตอ้อยของสมาชิกสหกรณ์ 3) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจาก การผลิตอ้อยของสมาชิกสหกรณ์ และ 4) วิเคราะห์หาประสิทธิภาพในการผลิตอ้อยของสมาชิกสหกรณ์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรหนองมะโมง จำกัด จังหวัดชัยนาท สุ่มตัวอย่างแบบง่าย ในการเลือกพื้นที่สำรวจ โดยเลือกสมาชิกสหกรณ์ในตำบลสะพานหิน เพราะเป็นพื้นที่ที่ มุ่งเน้นการผลิตมีประสิทธิภาพเพื่อนำไปสู่การใช้ปัจจัยการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยสุ่มแบบง่าย สมาชิก สหกรณ์ในฐานะผู้ผลิต จำนวน 40 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยของข้อมูล และการกระจายข้อมูล และ วิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตทางเทคนิค โดยประมาณการฟังก์ชันการผลิตแบบ Cobb-Douglas Production Function แล้วใช้วิธีการวัดประสิทธิภาพการผลิตโดยอาศัยแบบจำลอง Stochastic Frontier ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 41-50 ปี จบการศึกษาระดับ มัธยมศึกษาและประถมศึกษา มีประสบการณ์การปลูกอ้อย 5-10 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4-5 คน เนื้อที่ถือ ครองส่วนใหญ่เป็นเจ้าของเองทั้งหมด 2) แบบแผนการผลิตอ้อยการผลิตอ้อยของสมาชิกสหกรณ์ คือ มีกิจกรรม การเตรียมดิน ไถดะ ไถแปร และการปลูกไปพร้อมกับการหว่านปุ๋ยครั้งแรก โดยใช้เครื่องจักรกล ระยะปลูกอยู่ที่ 1.20 เมตร พันธุ์ที่นิยมใช้ คือ พันธุ์ LK92-11 การดูแลรักษาไม่นิยมปลูกซ่อมและให้น้ำ ใส่ปุ๋ย 3 ครั้งต่อฤดูการผลิต การเก็บเกี่ยวทำเอง 3) ต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตอ้อย สมาชิกสหกรณ์ได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ อ้อยตอ1 จำนวน 16,814 บาท/ไร่ อ้อยตอ 2 จำนวน 15,438 บาท/ไร่ และ อ้อยตอ 3 หรือมากกว่า จำนวน 14,947 บาท/ไร่ 4) ประสิทธิภาพการผลิตของสมาชิกสหกรณ์โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับปัจจัยการผลิต รวมค่า สัมประสิทธิ์ของปัจจัยการผลิตทุกตัว มีค่าเท่ากับ 16.9320 หมายความว่า เมื่อเพิ่มปัจจัยการผลิตแต่ละชนิดเข้าไป ร้อยละ 1.0 แล้ว ผลผลิตที่ได้รับเพิ่มมากขึ้นกว่าร้อยละ 1.0 ตามสมการการผลิต ถ้า b1+b2+b3...+bn > 1 และ เมื่อศึกษาประสิทธิภาพการผลิตของสมาชิกสหกรณ์โดยเฉลี่ยในแต่ละรายอยู่ระดับที่ 0.9748 ซึ่งสมาชิกสหกรณ์ ส่วนใหญ่ จำนวน 24 ราย คิดเป็นร้อยละ 60.00 มีประสิทธิภาพ การผลิตต่ำกว่าระดับค่าผลผลิตที่ได้จากสมการ แสดงให้เห็นว่าสมาชิกสหกรณ์มีประสิทธิภาพการผลิตต่ำ |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2434 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
140216.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License