Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/245
Title: ปัญหาการคุ้มครองธรรมสิทธิ์ในลิขสิทธิ์และสิทธิข้างเคียงตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
Other Titles: Problems of moral rights protection in copyright and neighbouring rights under the Copyright Act B.E. 2537
Authors: วิมาน กฤตพลวิมาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรวุฒิ โปษกานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปัญญาพน เจริญพานิช, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- กรรมสิทธิ์
การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
ลิขสิทธิ์
การคุ้มครองแบบผลิตภัณฑ์
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมาของระบบการคุ้มครอง และลักษณะที่ สำคัญของลิขสิทธิ์ข้างเคียง และธรรมสิทธ์ (2) ศึกษาเปรียบเทียบการคุ้มครองธรรมสิทธ์ในลิขสิทธิ์ และสิทธิข้างเคียงตามกฎหมายต่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายไทย (3) ศึกษาปัญหาการคุ้มครองธรรมสิทธี๋ในลิขสิทธิ์ และสิทธิข้างเคียงตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และ (4) เสนอแนะแนวทางในการคุ้มครองธรรมสิทธิ์ในสิขสิทธ์และสิทธิข้างเคียง การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Quality Research) ซึ่งเป็นการวิจัยจากเอกสาร (Documentary Research) ได้แก่ หนังสือ บทความทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ ทั้งในสาขาวิชานิติศาสตร์ และสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง ตัวบทกฎหมายทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนแนวคิดของนักวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยสรุปปัญหาและแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 แบ่งเป็น 2 กรณี กรณีแรกการคุ้มครองธรรมสิทธึในลิขสิทธิ์ แยกการพิจารณาได้ดังนี้ (1) ปัญหาโครงสร้างการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ควรกำหนดโครงสร้างการคุ้มครองลิขสิทธิให้เป็นแบบระบบโครงสร้างคู่ (2) ปัญหาบทนิยามศัพท์ ควรบัญญัติและให้บทนิยามกำว่า “ธรรมสิทธิ์” ไว้ในกฎหมาย ปัญหาเกี่ยวกับขอบเขตแห่งสิทธิในการแสดงว่าตนเป็นผู้สร้างสรรค์ควรแก้ไขบทบัญญัติใหม่โดยใช้คำว่า “สิทธิในความเป็นผู้สร้างสรรค์” ปัญหาข้อจำกัดแห่งสิทธิในบูรณภาพของงาน ควรตัดกรณีของการตัดแปลงออกไป และปัญหาเกี่ยวกับประเภทของธรรมสิทธิ์ ยังไม่ควรกำหนดประเภทของธรรมสิทธิ์เพิ่มเติม (3) ปัญหาการเป็นผู้สร้างสรรค์และทรงธรรมสิทธิ์ ควรเพิ่มเติม บทบัญญัติสำหรับกรณีของผู้สร้างสรรค์ร่วมและผู้สร้างสรรค์ซึ่งเป็นนิติบุคคล (4) ปัญหาบุคคลซึ่งสามารถใช้ธรรมสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ ควรกำหนดตัวบุคคลผู้ใช้ธรรมสิทธ์ให้ชัดเจนทั้งในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์มีทายาท และไม่มีทายาท (5) ปัญหาการโอนและสละธรรมสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ ควรกำหนดให้ธรรมสิทธิ์!เป็นสิทธิที่ไม่สามารถโอนได้ แต่สามารถสละเสียได้ อย่างไรก็ตาม หากบริบทของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป อาจกำหนด ให้ธรรมสิทธิ์เป็นสิทธิที่ไม่สามารถโอนหรือสละเสียได้ (6)ปัญหาความรับผิดที่เหมาะสมและอายุความฟ้องร้อง ผู้ละเมิดธรรมสิทธิ์ ควรกำหนดให้ผู้ละเมิดธรรมสิทธิ์ต้องระวางโทษปรับทางอาญา โดยกำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้ และรับผิดทางแพ่ง โดยการจัดการให้ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของผู้สร้างสรรค์กลับคืนดีเท่านั้น ทั้งนี้ควรกำหนดอายุความฟ้องคดีเช่นเดียวกับคดีลิขสิทธิ์ (7) ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างธรรมสิทธิ์กับข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธ์ ควรกำหนดให้ธรรมสิทธิ์เป็นส่วนหนี้งของข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธ์ (8) ปัญหาอายุแห่งการคุ้มครองธรรมสิทธิ์ การที่ปัจจุบันกฎหมายกำหนดอายุแห่งการคุ้มครองธรรมสิทธิ์ไว้ตลอดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธ์ยังถือว่ามีความเหมาะสม อย่างไรก็ตามหากบริบทของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป อาจกำหนดอายุแห่งการคุ้มครองธรรมสิทธ์ ใว้ตลอดกาลและ (9) ปัญหาเกี่ยวกับผลแห่งการ ที่ลิขสิทธิ์สิ้นสุดลง และการคงอยู่ของธรรมสิทธิ์กรณีสละลิขสิทธิ์ ควรเพิ่มเติมบทบัญญัติกรณีผลแห่งการที่ลิขสิทธิ์สิ้นสุดลง รวมทั้งการคงอยู่ของธรรมสิทธิ์กรณีสละลิขสิทธิ์ไว้ให้ชัดเจน กรณีที่สอง การคุ้มครองธรรมสิทธิ์ในสิทธิข้างเคียง แยกการพิจารณาได้ดังนี้ (1) ปัญหาเกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองธรรมสิทธิ์ ควรเพิ่มเติมบทบัญญัติสำหรับการคุ้มครองธรรมสิทธิ์ของนักแสดง โดยบัญญัติครอบคลุมทั้งในกรณีโครงสร้างการคุ้มครองสิทธิ บทนิยามศัพท์ ประเภท ขอบเขตแห่งสิทธิ นักแสดงร่วมและการใช้ธรรมสิทธิ์บุคคลซึ่งสามารถใช้ธรรมสิทธิ์ การโอนและสละธรรมสิทธิ์ ความรับผิดที่เหมาะสมและอายุความฟ้องร้องผู้ละเมิดธรรมสิทธิ์ ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมสิทธ์กับข้อยกเว้นการละเมิดสิทธิ อายุแห่งการคุ้มครอง และผลของสิทธิของนักแสดงสิ้นสุดลงกับการคงอยู่ของธรรมสิทธิ์ และ (2) ปัญหาเกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองธรรมสิทธิ์ในงานที่จัดเป็นสิทธิข้างเคียง ควรบัญญัติให้เพียงสิทธิในการแสดงว่าตนเป็นผู้สร้างสรรค์เท่านั้น สำหรับกรณีของผู้สร้างสรรค์งานประเภทสิ่งบันทึกเสียงและงานแพร่เสียงแพร่
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/245
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
128813.pdfเอกสารฉบับเต็ม27.68 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons