Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2460
Title: | การเปรียบเทียบความเสี่ยงและผลตอบแทนของกองทุนรวมตราสารทุนของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด |
Other Titles: | Comparative analysis of risks and returns for the equity fund of BBL Asset Management Company Limited |
Authors: | พิทักษ์ ศรีสุกใส ปริศนา ทองใบ, 2557- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด--การลงทุน การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) อัตราผลตอบแทนของกองทุนรวมตราสารทุน ระหว่างกองทุนหุ้นที่มีปันผล และกองทุนหุ้นที่ไม่มีปันผล 2) ความเสี่ยงของกองทุนรวมตราสารทุนระหว่างกองทุนหุ้นที่ปันผล และกองทุนหุ้นที่ไม่มีปันผล และ 3) ประสิทธิภาพในการบริหารงานของกองทุนรวมตราสารทุน ระหว่างกองทุนหุ้นที่ปันผล และกองทุนหุ้นไม่มีปันผลของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัดการศึกษาใช้ข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ คือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยลงทุน ณ วันสิ้นเดือน ที่เป็นข้อมูลอนุกรมเวลารายเดือน ตั้งแต่ มกราคม 2550 - ธันวาคม 2556 จำนวนทั้งสิ้น 84 เดือน ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บัวหลวง ได้แก่ กองทุนหุ้นที่มีปันผล และกองทุนหุ้นที่ไม่มีปันผลเครื่องมือวิจัยประกอบด้วย อัตราผลตอบแทนของกองทุนรวม ความเสี่ยงของกองทุนรวม การหามูลค่าความเสี่ยง และมาตรวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมทั้ง 3 แนวคิด คือ 1) แนวคิดของชาร์ป 2) แนวคิดเทรนเนอร์ และ3) แนวคิดเจนเซนผลการวิจัยพบว่า 1) กองทุนเปิดบัวหลวงทศพลให้อัตราผลตอบแทนสูงที่สุด ซึ่งเป็นกองที่ไม่จ่ายปันผล ส่วนกองทุนเปิดประเภทอื่นที่นำมาศึกษานี้ให้ผลตอบแทนในค่าเฉลี่ยที่ใกล้เคียงกัน 2) ความเสี่ยงระหว่างกองทุนรวมตราสารทุน โดยประเมินผลจากค่าเฉลี่ยของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานชี้ว่ากองทุนรวมหุ้นที่ไม่จ่ายปันผลมีค่าเฉลี่ยของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ในช่วงตั้งแต่ร้อยละ 1.1046 ถึงร้อยละ 2.147 ต่อปี ซึ่งสูงกว่ากองทุนหุ้นที่มีนโยบายการจ่ายปันผล ที่มีค่าเฉลี่ยของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานร้อยละ 0.5147 ส่วนการใช้เทคนิคเทคนิคการพยากรณ์มูลค่าความเสี่ยงเพื่อแสดงระดับความเสี่ยงของแต่ละกองทุนที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 นั้นกองทุนรวมหุ้นในกลุ่มที่จ่ายปันผลมีระดับความเสี่ยงที่ต่ำกว่ากองทุนรวมหุ้นในกลุ่มที่ไม่จ่ายปันผล และ 3) ประสิทธิภาพในการบริหารกองทุนกองหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมบัวหลวง จำกัด ที่พิจารณาจากมาตรวัด 3 แบบ ชี้ว่า กองทุนที่มีค่าดัชนีชาร์ป เทรนเนอร์ เจนเซน สูงที่สุดคือ กองทุนเปิดบัวหลวงทศพล ส่วนกองทุนที่มีค่าดัชนี ชาร์ปเทรนเนอร์ เจนเซน ต่ำที่สุดคือ กองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งทั้งสองกองทุนนี้เป็นกองทุน ประเภทไม่จ่ายปันผล |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2460 |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
153246.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License