Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2462
Title: | การจัดการทรัพยากรเกษตรตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรจังหวัดลำปาง |
Other Titles: | Agricultural resources management following the philosophy of sufficiency economy by farmers in Lampang Province |
Authors: | พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา บำเพ็ญ เขียวหวาน , อาจารย์ที่ปรึกษา กัลยาณี ประเสริฐขรวงศ์, 2531- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์ เศรษฐกิจพอเพียง--ไทย--ลำปาง |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลด้านสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) การนาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการทรัพยากรเกษตร 3) ผลของการนาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการทรัพยากรเกษตร 4) ทัศนคติ ความรู้และความพึงพอใจจากการนาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการทรัพยากรเกษตร และ 5) ปัญหา ความต้องการและข้อเสนอแนะในการนาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการทรัพยากรเกษตร วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ เกษตรกรนาร่องที่ผ่านการอบรมจากโครงการศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ภายใต้โครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จานวน 450 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการคานวณของสูตรTaro Yamane จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายของประชากรทั้งหมดได้จานวน 216 ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่าสุด ค่าสูงสุด และค่าเฉลี่ยการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง จานวน 9 คน ใช้แบบสัมภาษณ์และการอภิปรายกลุ่มในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความและทาตารางเปรียบเทียบ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 57.87 อายุเฉลี่ย 48 ปี กิจกรรมทางการเกษตรมากกว่าครึ่งหนึ่งทาในบริเวณรอบที่พักอาศัยของตนเอง โดยให้ความสาคัญในเรื่องของกิจกรรมปลูกพืชปลอดสารพิษ ทั้งพืชผักสวนครัว ข้าว และพืชไร่ สาหรับบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก 2) การนาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการทรัพยากรเกษตร พบว่า เกษตรกรร้อยละ 87.50 วางแผนทาการเกษตรโดยคานึงถึงปริมาณน้า และร้อยละ 88.89 มีการปรับปรุงดินก่อนทาการเกษตร 3) จากการนาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการทรัพยากรเกษตร พบว่า เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ มีจิตสานึกที่ดีในการใช้ทรัพยากรเกษตร ใช้ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ในท้องถิ่นและสามารถใช้ทรัพยากรเกษตรให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน 4) เกษตรกรมีทัศนคติว่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือหลักในการดาเนินชีวิต และยังเป็นหลักในการจัดการทรัพยากรเกษตรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างดี และมีความพึงพอใจเป็นอย่างยิ่งในการนาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดการทรัพยากรเกษตร และ 5) เกษตรกรส่วนน้อยมีปัญหาเกี่ยวกับความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคือการทาเกษตรทฤษฎีใหม่เท่านั้น โดยเกษตรกรส่วนมากต้องการให้จัดฝึกอบรมอีกครั้งเพื่อกระตุ้นและทบทวนความจา และมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางานแบบบูรณาการร่วมกันเป็นภาคีเครือข่าย เพื่อให้ทุกภาคส่วนในจังหวัดลาปางเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรเกษตร |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2462 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
144785.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 31.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License