Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2470
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการออมในกองทุนการออมแห่งชาติ กรณีศึกษาผู้ประกอบอาชีพอิสระในอำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่
Other Titles: Factors affecting saving in national savings fund: a case study of the self-employment in Mueang Krabi District, Krabi Province
Authors: พิทักษ์ ศรีสุกใส, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปิติพันธุ์ อ่อนจันทร์, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การประหยัดและการออม -- ไทย -- กระบี่
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะการออมของผู้ประกอบอาชีพอิสระ ในอำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจออมในกองทุนการออมแห่งชาติใน อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อจำนวนเงินออมในกองทุนการออมแห่งชาติใน อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามผู้ประกอบอาชีพอิสระ 7 กลุ่มอาชีพในอำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ จำนวน 400 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนาอธิบาย การศึกษาลักษณะการออม ใช้สมการถดถอยโลจิสติก อธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจออม ในกองทุนฯ และสมการถดถอยพหุคูณอธิบายปัจจัย ที่มีผลต่อจำนวนเงินออมในกองทุนฯ ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีสัดส่วนเงินออมต่อรายได้เฉลี่ยร้อยละ 19.23 ออมเงินโดยการฝากออมทรัพย์กับธนาคารมากที่สุด ส่วนใหญ่มีการออมเพียงช่องทางการออมเดียว เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่ตัดสินใจออมและไม่ออมในกองทุนฯ พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ ตัดสินใจออมมีสัดส่วนเงินออมต่อรายได้และมีช่องทางการออมที่เป็นการออมระยะยาว สูงกว่ากลุ่มที่ ตัดสินใจไม่ออม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 63.0 ไม่ทราบข้อมูลการจัดตั้งกองทุนฯ กลุ่มที่ ตัดสินใจออมในกองทุนฯ ส่วนใหญ่วางแผนที่จะออมจำนวน 500 บาทต่อเดือนและกลุ่มอาชีพ เกษตรกรรมมีสัดส่วนผู้ออมมากที่สุด 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจออมในกองทุนฯ ที่ระดับ นัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ เงินออมต่อเดือน การไม่มีหนี้สิน การครอบครองทรัพย์สินประเภท รถจักรยานยนต์และรถยนต์ และขนาดที่ดินที่ถือครอง มีผลต่อการตัดสินใจออมในทางบวก 3) ปัจจัยที่ มีผลต่อจำนวนเงินออมในกองทุนฯ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ เงินออมต่อเดือน รายได้ ต่อเดือนและรายจ่ายต่อเดือน โดยเมื่อปัจจัยดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละหนึ่งจะมีผลให้จำนวนเงินออมใน กองทุนฯ เปลี่ยนแปลงไปร้อยละ 2.90, 1.80 และ -1.20 ตามลำดับ
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2470
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
151909.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.57 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons