กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2473
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนากลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพตำบลวังโรงใหญ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development approach of bio-organic fertilizer production group in Wang Rong Yai Sub-district, Sikhio District, Nakorn Ratchasima Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชัยวัฒน์ คงสม, อาจารย์ที่ปรึกษา
สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เชิดชาย โตจันทึก, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ปุ๋ยชีวภาพ--การผลิต
ปุ๋ยอินทรีย์--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของสมาชิกกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพตาบลวังโรงใหญ่ อาเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา (2) สภาพการดาเนินงานของกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ตาบลวังโรงใหญ่ (3) ปัญหาอุปสรรคของกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพตาบลวังโรงใหญ่ (4) แนวทางการพัฒนากลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพตาบลวังโรงใหญ่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลทะเบียนสมาชิกกลุ่มทั้งหมด จานวน 270 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ส่วนการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์และประชุมกลุ่มย่อยจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลโดยเลือกแบบเจาะจง และรวบรวมจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เป็นการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดาเนินงานกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพฯ จานวน 5 คน ส่วนการประชุมกลุ่มย่อยเป็นการประชุมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพฯรวม 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย อายุเฉลี่ย 49 ปี การศึกษาต่ากว่าระดับประถมศึกษาปีที่ 4 และประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มีพื้นที่เกษตรกรรมของตนเฉลี่ย 33ไร่ และมีพื้นที่เช่าคิดเป็นหนึ่งในสามของพื้นที่ของตนเอง รายได้ครัวเรือนต่อปีเฉลี่ย 186,640 บาท และมีจานวนหุ้นเฉลี่ยต่อคน 817 บาท กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพตาบลวังโรงใหญ่เป็นการรวมกลุ่มของเกษตรกร มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้ภายในกลุ่มของตนเองและหากาไร บริหารโดยคณะกรรมการและมีการแบ่งงานกันทาเป็นฝ่ายต่างๆ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดเป็นหลัก ใช้วัตถุดิบและแรงงานของสมาชิกในชุมชนเป็นส่วนใหญ่ จาหน่ายผลผลิตให้แก่สมาชิกและเกษตรกรในพื้นที่เป็นหลัก เงินทุนได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตาบลวังโรงใหญ่และจากการลงหุ้นของสมาชิก การปันผลไม่เกินร้อยละ40 ของผลกาไรต่อปี ปัญหาของกลุ่มหลักๆ ประกอบด้วย คณะกรรมการกลุ่มขาดการมีส่วนร่วม ไม่มีตราสินค้า ไม่มีห้องทางานสาหรับคณะกรรมการ ไม่มีข้อบังคับกลุ่ม และขาดการตรวจสอบคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์ แนวทางการพัฒนากลุ่มประกอบด้วยกลยุทธ์ 3 ด้าน คือ1) ด้านการบริหารงาน ได้แก่ การก่อสร้างขยายโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์และการระดมทุนจากการขายหุ้นแก่สมาชิกกลุ่ม 2) ด้านการผลิต ได้แก่ การเก็บรวบรวมวัตถุดิบให้เพียงพอต่อการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และการจ้างแรงงานให้เพียงพอต่อการผลิต 3) ด้านการตลาด ได้แก่ การเพิ่มราคาจาหน่ายปุ๋ยอินทรีย์และการสร้างตราสินค้าของกลุ่ม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2473
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
145892.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons