Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2474
Title: | ประสิทธิภาพการผลิตข้าวหอมมะลิตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเษตรที่ดีของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบรบือ จำกัด จังหวัดมหาสารคาม |
Other Titles: | The efficiency of Thai Hom Mali rice production following Good Agricultural Practice by Borabue Agricultural Co-operatives Ltd., members Maha Sarakham Province |
Authors: | อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ, อาจารย์ที่ปรึกษา เชาว์ โรจนแสง, อาจารย์ที่ปรึกษา ปานรดา อิงชัยภูมิ, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ ข้าวหอมมะลิ--การผลิต ข้าวหอมมะลิ--การปลูก--มาตรฐานการผลิต |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของการปลูกข้าวหอมมะลิและการปลูกข้าวหอมมะลิตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบรบือ จากัด จังหวัดมหาสารคาม 2) วิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตข้าวหอมมะลิและการผลิตข้าวหอมมะลิตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบรบือ จากัด 3) วิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการผลิตข้าวหอมมะลิและการผลิตข้าวหอมมะลิตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ของสมาชิกสหกรณ์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรบรบือ จากัด ที่ปลูกข้าวหอมมะลิตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี จานวน 1,237 คน และปลูกข้าวข้าวหอมมะลิแบบทั่วไป จานวน 1,478 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรบรบือ จากัด ที่ปลูกข้าวหอมมะลิตามมาตรฐานวิธีปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี จานวน 40 คน และปลูกข้าวหอมมะลิแบบทั่วไป จานวน 40 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้ได้แก่สัดส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ยของข้อมูล การกระจายข้อมูล และวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิต โดยประมาณการฟังก์ชั่นการผลิตแบบ Cobb-Douglas Function แล้วใช้วิธีการวัดประสิทธิภาพการผลิตโดยอาศัยแบบจาลอง Stochastic Frontier Production ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และมีอายุมากกว่า 61 ปี สมาชิกกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่ จบการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4 ส่วนใหญ่สมาชิกสหกรณ์จะเป็นเจ้าของที่ดิน 2) ต้นทุนและผลตอบแทน จานวน 2,133.00 บาท/ไร่ ผลตอบแทน 3,038.60 บาท/ไร่ ผลตอบแทนสุทธิ 905.60 บาท/ไร่ ผลผลิตที่สมาชิกสหกรณ์สามารถผลิตได้ 201 - 300 กิโลกรัม/ไร่ และการปลูกข้าวหอมมะลิตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี จานวน 3,359.29 บาท/ไร่ ผลตอบแทน 6,140.95 บาท/ไร่ ผลตอบแทนสุทธิ 2,781.67 บาท/ไร่ อยู่ระหว่าง 401-500 กิโลกรัม/ไร่ และ 3)ประสิทธิภาพในการผลิตข้าวหอมมะลิโดยเฉลี่ยในแต่ละรายจะมีระดับอยู่ที่ 1.0080 และประสิทธิภาพการผลิตข้าวหอมมะลิตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีโดยเฉลี่ย ในแต่ละรายอยู่ที่ 1.0016 ซึ่งแสดงได้ว่าสมาชิกสหกรณ์ทั้งสองกลุ่มมีประสิทธิภาพการผลิตปานกลาง ค่าสัมประสิทธิ์ของปัจจัยการผลิตทุกตัวของการผลิตข้าวหอมมะลิมีค่าเท่ากับ 1.0798 และการผลิตข้าวหอมมะลิตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี มีค่าเท่ากับ 1.1647 ชี้ให้เห็นว่าผลตอบแทนต่อขนาดการผลิตเพิ่มขึ้น |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (สหกรณ์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2474 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
145894.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License