Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2475
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารออมสินเขตอ่างทอง
Other Titles: Factors affecting Government Saving Bank's housing loans, Ang Thomg area
Authors: รัชฎาพร เลิศโภคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปารดา นาเจิมทอง, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ธนาคารออมสินเขตอ่างทอง
สินเชื่อที่อยู่อาศัย -- ไทย -- อ่างทอง
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารออมสิน เขตอ่างทอง และ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารออมสิน เขตอ่างทอง ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิที่ได้รวบรวมจากรายงานผลการดำเนินงานของธนาคารออมสิน เขตอ่างทอง รายงานประจำเดือน รายงานประจำไตรมาส จากธนาคารออมสินภาค 14 รายงานประจำปีของธนาคารออมสิน เพื่อใช้วิเคราะห์เชิงพรรณนาในส่วนของสภาพทั่วไปของการดำเนินการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และผลการดำเนินงานด้านสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารออมสินเขตอ่างทอง และในส่วนของปัจจัยที่มีผลต่อการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารใช้ข้อมูลอนุกรมเวลารายไตรมาส ในช่วงปี 2548 ถึง 2554 ทำการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) การให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารออมสิน เขตอ่างทอง มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณการให้สินเชื่อรวมของธนาคาร โดยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมีปริมาณที่ลดลงในขณะที่สินเชื่อรวมเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัญหาอุทกภัยในปี 2549 และปี 2554 ที่ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ประชาชนขอกู้สินเชื่อเพื่อลงทุนประกอบอาชีพและเพื่อการดำรงชีพเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารมีปริมาณที่ลดลง 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารออมสิน เขตอ่างทอง ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวยกัน ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดอ่างทอง ปริมาณการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารในช่วงไตรมาสก่อนหน้า และปริมาณเงินฝากรวมของธนาคาร สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางตรงกันข้าม คือ ปริมาณการให้สินเชื่อรวมของธนาคาร
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2475
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
132846.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons