กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2476
ชื่อเรื่อง: ความต้องการการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในอำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension needs in cassava production of farmers in Erawan District of Loei Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชนิดา เกตุแก้วเกลี้ยง, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มันสำปะหลัง--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร (3) การผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร (4) ความต้องการการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกร (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตมันสำปะหลัง ของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรที่ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 47.77 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.49 คน เป็น ประสบการณ์ผลิตมันสำปะหลังเฉลี่ย 8.81 ปี สื่อในหมู่บ้านจากผู้นำเกษตรกร และได้รับข่าวสารจากวิทยุโทรทัศน์ โดยภาพรวมเกษตรกรมีระดับการรับรู้ข่าวสารด้านการผลิตมันสำปะหลังจากแหล่งต่าง ๆ อยู่ในระดับปานกลาง แรงงานภาคการเกษตรเฉลี่ย 2.87 คน ลักษณะถือครองที่ดินเป็นของตนเอง พื้นที่ผลิตเฉลี่ย 15.36 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 3822.78 กิโลกรัมต่อไร่ (2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ในการผลิตมันสำปะหลังระดับมากที่สุด รองลงมาเกษตรกรสองในสามมีความรู้ในการผลิตระดับมาก และเกษตรกรส่วนน้อยมีความรู้ในการผลิตระดับปานกลาง โดยเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตมันสำปะหลัง เฉลี่ย 17.62 คะแนน (3) เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 5 ปลูกดินร่วน มีการปรับปรุงดินก่อนปลูก ปลูกแบบยกร่อง ไถเตรียมดินถึง 2 ครั้ง เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการตรวจวิเคราะห์ดิน เก็บท่อนพันธุ์ไว้ปลูกเอง ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่ปุ๋ย 2 ครั้งต่อ 1 ฤดูปลูก มีการกำจัดวัชพืช ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช 2 ครั้งต่อ 1 ฤดูปลูก เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 10 เดือน การขนส่งโดยรถอีแต๋น ขายมันสำปะหลังในรูปหัวมันสด ขายที่ลานมันเส้นเอกชน (4) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความต้องการการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังเรียงตามลำดับความสำคัญ ดังนี้ ด้านเนื้อหาการผลิตมันสำปะหลัง ด้านการสนับสนุนภายหลังการส่งเสริมการเกษตร และวิธีการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลัง และ (5) เกษตรกรโดยภาพรวมมีปัญหาการผลิตมันสำปะหลังระดับปานกลาง เรียงตามลำดับความสำคัญ คือ การสนับสนุนภายหลังการส่งเสริม เนื้อหาการผลิตมันสำปะหลัง วิธีการส่งเสริมการเกษตร ข้อเสนอแนะเกษตรกรต้องการให้รัฐมีการประกันราคามันสำปะหลัง แนะนาวิธีการปรับปรุงดินก่อนปลูก และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแนะนำพันธุ์มีผลผลิตสูงเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ต้านทานโรคและแมลง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2476
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
146050.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons