กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2480
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorจินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorพรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorนิภาดา เจริญธนกิจกุล, 2527--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-12-22T01:44:14Z-
dc.date.available2022-12-22T01:44:14Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2480-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวอ่อน (2) สภาพการผลิตมะพร้าวอ่อนของเกษตรกร (3) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตมะพร้าวอ่อนของเกษตรกร (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตมะพร้าวอ่อนของเกษตรกร (5) วิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการผลิตมะพร้าวอ่อนของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 58.48 ปี ส่วนใหญ่จบชั้นประถมศึกษา ประสบการณ์ในการผลิตมะพร้าวเฉลี่ย 20.74 ปี มีพื้นที่ปลูกมะพร้าวเฉลี่ย 9.08 ไร่ แรงงานในครัวเรือนมีจานวน 2 คน ต้นทุนการผลิตมะพร้าวเฉลี่ย 638.59 บาทต่อไร่ต่อปี (2) พื้นที่ปลูกมะพร้าวมีลักษณะเป็นแบบยกร่อง ดินที่ปลูกเป็นดินเหนียว ให้น้าแบบน้ำขังในร่องสวน แหล่งน้ำมาจากน้ำฝน น้ำที่ใช้เป็นน้ำจืด ส่วนใหญ่ปลูกพันธุ์น้ำหอม เพาะพันธุ์เอง ปลูกแบบแถวเดี่ยว ระยะปลูก 6x6 เมตร มีการใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม 1-2 ครั้งต่อปี ลอกเลนขึ้นร่องสวน 1 ครั้งต่อปี ปลูกมะพร้าวทดแทนต้นที่เสื่อมโทรม โดยการปลูกแซมระหว่างต้นเดิม สวนมะพร้าวที่ออกผลแล้วจะมีการเก็บทางมะพร้าวที่ร่วงหล่นลงมา และกำจัดวัชพืช เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่พบการระบาดของโรค แต่พบการระบาดของแมลง คือด้วงแรดมะพร้าว ป้องกันกำจัดโดยกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ ด้วงงวง ป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี แมลงดาหนาม ป้องกันกำจัดโดยปล่อยแตนเบียนอะซิโคเดส และหนอนหัวดา ป้องกันกำจัดโดยปล่อยแตนเบียนบราคอน ฮีบิเตอร์ (3) มีความต้องการการส่งเสริมความรู้ในเรื่องการป้องกันกำจัดแมลงมากที่สุด โดยผ่านทางแผ่นพับและบุคคลราชการ ในรูปแบบการบรรยายและสาธิต (4) เกษตรกรมีปัญหาการผลิตมะพร้าวมากที่สุดในเรื่องการป้องกันกำจัดแมลง มีปัญหาน้อยที่สุดในเรื่องการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยว และการจำหน่ายผลผลิต ส่วนข้อเสนอแนะจากเกษตรกรคือ ขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ต้องการให้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ให้หน่วยงานราชการแนะนาวิธีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าว (5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตมะพร้าว คือ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานรัฐให้การสนับสนุนทางด้านทักษะ วิชาการความรู้ความสามารถ และปัจจัยการผลิต การรวมกลุ่มผู้ปลูกมะพร้าว เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของสมาชิกกลุ่ม การศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนความรู้ และแก้ปัญหาศัตรูมะพร้าวโดยการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2014.18-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมะพร้าว--การผลิตth_TH
dc.titleแนวทางการส่งเสริมการผลิตมะพร้าวอ่อนของเกษตรกรอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทราth_TH
dc.title.alternativeExtension guidelines for young coconut production of farmers in Bang Khla District of Chachoengsao Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2014.18-
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to study following: (1) social and economic state of young coconut farmers in Bang Khla District of Chachoengsao Province; (2) the state of their young coconut production; (3) their needs for the extension on young coconut production; (4) their problems and suggestions on young coconut production; and (5) the extension guidelines for their young coconut production. The population in this study was 1,148 young coconut farmers in Bang Khla District of Chachoengsao Province. 92 samples were selected by using simple random sampling. The statistical used to analyze the data by descriptive analysis were frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, and standard deviation. The findings of this study were as follows: (1) most of the studied farmers were male, with average age at 58.48 years. Most of them were educated at primary level. The average period of their experience in young coconut production was 20.74 years. Their average coconut cultivating area was 9.08 rai. The number of household labor of most of them was 2 persons. The average cost of their young coconut production was 638.59 Baht/rai/year. (2) the studied farmers usually grew their coconut trees on lifted patches with sticky soil. They bailed out plain water in ruts to water their coconut trees. The water source for their gardening was the rain only. They mostly grew their coconut trees in fragrant-water tribe which they cultivated themselves. Their coconut trees were grown on lifted patches in single line at the intervals of 6x6 meters, and the bottom of the holes was lined with fertilizer once or twice a year. They bailed out the mire from ruts to cover the surface of their lifted patches once a year. They would grow new coconut trees to replace old deteriorated ones by growing them among the old ones. Coconut trees which were bearing fruit would be cleared from fallen leaves along with eliminating weeds for them. Although most of the studied farmers were not faced with plant disease spreading, they had to be faced with pest/insect spreading instead. They controlled coconut rhinoceros grubs by eliminating their breeding sources, controlled trunk grubs by applying chemical substances to them, controlled coconut hispine beetle by liberating Asecodes hispinarum, and controlled coconut black-headed caterpillar by liberating Bracon hebeter Say. (3) the studied farmers needed to be transferred knowledge of pest control most through printing/personal media, such as brochures, leaflets, and public officials in the form of lecturing and demonstrating. (4) the studied farmers had problems on pest control at the highest level, and had problems at the lowest level on the management after harvesting, harvesting, and distributing their produce. They suggested that water should have been supplied to their gardening sufficiently all the year, and related public sectors should have suggested them how to control coconut pests. (5) the guidelines for young coconut production were as follows: Public officials supported them in the issues of skills, academics, knowledge, skills, and production factors; made them unite in groups in order that their knowledge and skills would be improved; set field studies for them to observe the practice of other farmer groups and exchange their knowledge; and solved their problems on pests by adopting integrated pest control.en_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
146051.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons