กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2480
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการผลิตมะพร้าวอ่อนของเกษตรกรอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guidelines for young coconut production of farmers in Bang Khla District of Chachoengsao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิภาดา เจริญธนกิจกุล, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มะพร้าว--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวอ่อน (2) สภาพการผลิตมะพร้าวอ่อนของเกษตรกร (3) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตมะพร้าวอ่อนของเกษตรกร (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตมะพร้าวอ่อนของเกษตรกร (5) วิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการผลิตมะพร้าวอ่อนของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 58.48 ปี ส่วนใหญ่จบชั้นประถมศึกษา ประสบการณ์ในการผลิตมะพร้าวเฉลี่ย 20.74 ปี มีพื้นที่ปลูกมะพร้าวเฉลี่ย 9.08 ไร่ แรงงานในครัวเรือนมีจานวน 2 คน ต้นทุนการผลิตมะพร้าวเฉลี่ย 638.59 บาทต่อไร่ต่อปี (2) พื้นที่ปลูกมะพร้าวมีลักษณะเป็นแบบยกร่อง ดินที่ปลูกเป็นดินเหนียว ให้น้าแบบน้ำขังในร่องสวน แหล่งน้ำมาจากน้ำฝน น้ำที่ใช้เป็นน้ำจืด ส่วนใหญ่ปลูกพันธุ์น้ำหอม เพาะพันธุ์เอง ปลูกแบบแถวเดี่ยว ระยะปลูก 6x6 เมตร มีการใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม 1-2 ครั้งต่อปี ลอกเลนขึ้นร่องสวน 1 ครั้งต่อปี ปลูกมะพร้าวทดแทนต้นที่เสื่อมโทรม โดยการปลูกแซมระหว่างต้นเดิม สวนมะพร้าวที่ออกผลแล้วจะมีการเก็บทางมะพร้าวที่ร่วงหล่นลงมา และกำจัดวัชพืช เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่พบการระบาดของโรค แต่พบการระบาดของแมลง คือด้วงแรดมะพร้าว ป้องกันกำจัดโดยกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ ด้วงงวง ป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี แมลงดาหนาม ป้องกันกำจัดโดยปล่อยแตนเบียนอะซิโคเดส และหนอนหัวดา ป้องกันกำจัดโดยปล่อยแตนเบียนบราคอน ฮีบิเตอร์ (3) มีความต้องการการส่งเสริมความรู้ในเรื่องการป้องกันกำจัดแมลงมากที่สุด โดยผ่านทางแผ่นพับและบุคคลราชการ ในรูปแบบการบรรยายและสาธิต (4) เกษตรกรมีปัญหาการผลิตมะพร้าวมากที่สุดในเรื่องการป้องกันกำจัดแมลง มีปัญหาน้อยที่สุดในเรื่องการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยว และการจำหน่ายผลผลิต ส่วนข้อเสนอแนะจากเกษตรกรคือ ขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ต้องการให้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ให้หน่วยงานราชการแนะนาวิธีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าว (5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตมะพร้าว คือ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานรัฐให้การสนับสนุนทางด้านทักษะ วิชาการความรู้ความสามารถ และปัจจัยการผลิต การรวมกลุ่มผู้ปลูกมะพร้าว เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของสมาชิกกลุ่ม การศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนความรู้ และแก้ปัญหาศัตรูมะพร้าวโดยการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2480
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
146051.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons