กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2492
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพการผลิตกาแฟอราบิก้าในภาคเหนือของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Production efficiency of Arabica coffee in Northern Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จรินทร์ เทศวานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
พัชนี สุวรรณวิศลกิจ, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
กาแฟอาราบิก้า -- การผลิต
กาแฟ -- ไทย -- การผลิต
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการผลิตกาแฟอราบิก้าในพื้นที่ ภาคเหนือของประเทศไทย และ 2) ประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์จากการปลูกกาแฟ อราบิก้าของเกษตรกรในภาคเหนือของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอราบิก้า ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และลำปาง โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 110 ราย ใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบจำลองฟังก์ชั่นการผลิตแบบคอบบ์-ดักลาส และการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน ผลการศึกษา พบว่า 1) ประสิทธิภาพการผลิตที่เป็นประสิทธิภาพทางเทคนิค ปัจจัยที่มี ประสิทธิภาพมากที่สุดคือ จำนวนพื้นที่ปลูก รองลงไปคือ จำนวนแรงงานในการเก็บเกี่ยว โดยมีค่า ผลิตภาพหน่วยสุดท้ายเท่ากับ 652.543 และ 30.365 กิโลกรัม ตามลำดับ ปัจจัยที่มีประสิทธิภาพต่ำ คือ จำนวนแรงงานในการดูแล และจำนวนปุ๋ย โดยมีค่าผลิตภาพหน่วยสุดท้ายเท่ากับ 2.131 และ 0.223 กิโลกรัม ตามลำดับ ส่วนประสิทธิภาพการผลิตทางเศรษฐกิจ พบว่า จำนวนพื้นที่ปลูก และ จำนวนแรงงานเก็บเกี่ยว มีค่าสัดส่วนของมูลค่าผลผลิตเพิ่มต่อราคาปัจจัยการผลิตเท่ากับ 18.55 และ 2.70 ตามลำดับ สามารถเพิ่มการใช้ปัจจัยดังกล่าวได้อีกเพื่อให้เข้าสู่ดุลยภาพ ปัจจัยจำนวนแรงงาน ในการดูแล และจำนวนปุ๋ย มีค่าสัดส่วนของมูลค่าผลผลิตเพิ่มต่อราคาปัจจัยเท่ากับ 0.20 และ 0.17 ตามลำดับ ควรลดปัจจัยดังกล่าวลงเพื่อให้เข้าสู่ดุลยภาพ 2) ต้นทุนและผลตอบแทนทาง เศรษฐศาสตร์จากการปลูกกาแฟอราบิก้าของเกษตรกรในลักษณะผลผลิตที่เป็นผลสด คือ เกษตรกร มีต้นทุน 7,910.79 บาท/ไร่ หรือ 8.59 บาท/กิโลกรัมของผลสด และมีกำไรสุทธิ 5,188.41 บาท/ไร่ สำหรับเกษตรกรรายย่อยที่มีการนำเอาผลสดมาแปรรูปเป็นผลผลิตกาแฟกะลา (ส่วนของเมล็ดที่มี เปลือกแข็งเหนียวหุ้มอยู่) เกษตรกรมีต้นทุน 84.22 บาท/กาแฟกะลา 1 กิโลกรัม มีกำไรสุทธิ 2.59 บาท/กาแฟกะลา 1 กิโลกรัม ส่วนเกษตรกรรายใหญ่ที่มีการนำเอาผลสดมาแปรรูปเป็นผลผลิตกาแฟ กะลา มีต้นทุน 91.83 บาท/กาแฟกะลา 1 กิโลกรัม มีกำไรสุทธิ 8.17 บาท/กาแฟกะลา 1 กิโลกรัม
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2492
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
125516.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons