Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2494
Title: การศึกษาผลตอบแทนจากการลงทุนในโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากน้ำเสียของโรงงานแป้งมันสำปะหลังในจังหวัดกาฬสินธุ์
Other Titles: Return on investment in the electricity generating project from wastewater of cassava starch factories in Kalasin Province
Authors: รัชฎาพร เลิศโภคานนท์
พัชนา ดวงตะวงศ์, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากน้ำเสีย
โรงงานแป้งมันสำปะหลัง--การกำจัดของเสีย
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความเป็นไปได้ทางด้านการตลาดและด้านเทคนิคของการผลิตกระแสไฟฟ้าจากน้ำเสียของโรงงานแป้งมันสำปะหลัง 2) ความเหมาะสมทางด้านการเงินของโครงการลงทุนผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพที่ได้จากน้ำเสีย ของโรงงานแป้งมันสำปะหลังในจังหวัดกาฬสินธุ์ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิรวบรวมจากรายงานแผนการจัดหาพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของกระทรวงพลังงาน ข้อมูลการรับซื้อและราคารับซื้อไฟฟ้าจาก ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และข้อมูลปฐมภูมิเกี่ยวกับการผลิตแป้งมันสำปะหลังและการผลิตกระแสไฟฟ้า ที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังและบริษัทผลิตกระแสไฟฟ้าในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อใช้วิเคราะห์เชิงพรรณนาความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิคและด้านการตลาด และวิเคราะห์ความเหมาะสมทางการเงินของโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากน้ำเสียของโรงงานแป้งมัน ด้วยการวิเคราะห์คำนวณหาระยะเวลาคืนทุนมูลค่าปัจจุบันสุทธิ และผลตอบแทนภายในโครงการผลการศึกษาพบว่า 1) มีความเป็นไปได้ด้านการตลาดและด้านเทคนิค เนื่องจากประเทศไทยมีความต้องการพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนสูง รัฐบาลให้การสนับสนุนทั้งด้านวิชาการและเงินเพิ่มพิเศษราคารับซื้อกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากก๊าซชีวภาพ 2) การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงิน โครงการใช้เงินลงทุน 90 ล้านบาท ที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 7.38 บาท จะมีระยะเวลาคืนทุนที่ 5 ปี 6 เดือน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 33.682 ล้านบาท มีอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) 15.875 สูงกว่าอัตราคิดลดที่เหมาะสม (อัตราคิดลด 8.64) และมีอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน (BCR) 1.168 มากกว่า 1 จึงมีความเหมาะสมในการลงทุนทำโครงการ โดยที่ถ้าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้นถึงร้อยละ 8.00 และปริมาณการผลิตแป้งมันลดลงร้อยละ 10 โครงการก็ยังไม่ขาดทุน
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2494
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
135839.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.92 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons