กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2498
ชื่อเรื่อง: การศึกษาปัจจัยที่กำหนดการบริโภคของครัวเรือนในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study of factors affecting household consumption in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กาญจนี กังวานพรศิริ
พาฝัน พลชารี, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
ครัวเรือน--ไทย
บริโภคกรรม
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษารูปแบบและพฤติกรรมการบริโภคของครัวเรือน ไทย (2) ศึกษาปัจจัยที่กำหนดการบริโภคของครัวเรือนไทย วิธีการวิจัยใช้เครื่องมือสถิติเชิงพรรณาและการประมาณการสมการการบริโภค โดยการวิเคราะห์การถดถอยด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด ข้อมูลรายได้และการบริโภคของครัวเรือนในช่วงปี 2539-2547 รวบรวมจากสำนักงานสถิติแห่งชาติผลการศึกษารูปแบบและพฤติกรรมการบริโภคของครัวเรือนไทยพบว่า ครัวเรือนไทยในภาพรวมและในแต่ละภาค มีรูปแบบการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคมากกว่าการใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการบริโภค ส่วนพฤติกรรมการบริโภคนั้น ครัวเรือนไทยให้ความสำคัญกับการบริโภคในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดที่อยู่อาศัย หมวดยานพาหนะและบริการสื่อสาร หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า เพราะเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นขั้นพื้นฐานต่อการดำรงชีวิตและตามสภาพสังคม แม้ว่าช่วงที่ทำการศึกษาจะเป็นช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจก็ตามผลการศึกษาปัจจัยที่กำหนดการบริโภคของครัวเรือนพบว่า รายได้เป็นตัวแปรที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.05 กับการบริโภคของครัวเรือนไทย โดยค่าประมาณการ MPC ของครัวเรือนทั่วไปอยู่ที่ 0.684 เมื่อแยกศึกษาเป็นรายภาคพบว่าครัวเรือนในภาคใต้มีค่า MPC 0.828 สูงกว่าครัวเรือนภาคอื่น ครัวเรือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และ ภาคกลาง มีค่า MPC 0.777 0.746 และ 0.611 ตามลำดับ ส่วนรายได้ในอดีตและสินทรัพย์ทางการเงิน ไม่มีอิทธิพลต่อการบริโภคของครัวเรือนทั่วประเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.05.
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2498
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
122349.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons