Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2499
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัชฎาพร เลิศโภคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorพีรศักดิ์ อภิชาตโรจนกุล, 2521--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2022-12-23T01:15:13Z-
dc.date.available2022-12-23T01:15:13Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2499-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา ความคิดเห็นของผู้ประกอบการธุรกิจสปาเกี่ยวกับปัจจัยด้านเศรษฐกิจและปัจจัยด้านคุณสมบัติของพนักงานนวดสปา 2) ศึกษา ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านเศรษฐกิจและปัจจัยด้านคุณสมบัติของพนักงานนวดสปาที่มีต่อการจ้างงาน และ 3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ประกอบการธุรกิจสปาเกี่ยวกับปัจจัยด้านเศรษฐกิจและปัจจัยด้านคุณสมบัติของพนักงานนวดสปาตามกลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการของธุรกิจสปาในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงได้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการธุรกิจสปาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 40 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติทดสอบที ผลจากการศึกษา พบว่า 1) ความคิดเห็นของผู้ประกอบการสปาเกี่ยวกับปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่มีต่อการจ้างงาน คือ อัตราค่าจ้าง รายได้ของสถานประกอบการ และต้นทุนค่าใช้จ่ายของสถานประกอบการมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านคุณสมบัติของพนักงานนวดสปาที่มีต่อการจ้างงาน คือ ประสบการณ์ทำงานของพนักงานนวดสปา เพศ บุคลิกภาพ การฝึกอบรม และทักษะการนวดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเช่นกัน 2) ความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่มีต่อปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 คือ รายได้กับต้นทุนผลิตภัณฑ์ ด้านคุณสมบัติของพนักงานนวดสปามีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 มีทั้งหมด 6 คู่ โดยคู่ที่มีความสัมพันธ์สูงสุด คือ พนักงานนวดสปาที่ผ่านการอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือหลักสูตรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการนวดไทย นวดน้ำมัน กับทักษะอื่นที่จำเป็นกับพนักงานนวดสปา ส่วนคู่ที่มีความสัมพันธ์ต่ำสุด คือพนักงานนวดสปาหน้าตาดี กับพนักงานนวดสปาที่มีทักษะการนวดน้ำมัน 3) ความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยทางเศรษฐกิจของกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจสปาที่มีลูกค้าน้อยกว่า 100 รายต่อเดือนและที่มีลูกค้า 100-200 รายต่อเดือน มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 คือ รายได้ของสถานประกอบการธุรกิจสปาและการเพิ่มจำนวนสถานประกอบการธุรกิจสปา ส่วนความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยด้านคุณสมบัติของพนักงานนวดสปาของผู้ประกอบการทั้งสองกลุ่ม มีความแตกต่างที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 คือ ปัจจัยด้านพนักงานนวดสปาที่เป็นเพศที่สาม (ชาย)th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectธุรกิจสปา -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- การจ้างงานth_TH
dc.titleความสัมพันธ์ของปัจจัยที่กำหนดการจ้างงานของธุรกิจสปาในเขตกรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeThe relationships between the factors influencing employment in the spa business in Bangkokth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to: 1) investigate the opinions of spa entrepreneurs concerning the economic factors and the qualities of spa therapists; 2) find out the relationships between the economic factors and the qualities of spa therapists toward employment; and 3) compare the opinions of the spa operators regarding the economic factors and the qualities of spa therapists. of the spa industry in Bangkok. The study was a survey research collecting data via a purposive sampling technique from 40 the spa operators located on Sukhumvit Road, Bangkok. Questionnaires were employed to collect the data, and important required data. Percentage, mean, standard deviation, Pearson’s correlation, and T-test independent had been applied to analyze the data. The results of the study were as follows. 1) There were high average levels of the of the spa operators’ opinions towards economic factors, including wages, incomes of spa operators, and costs of spa operators. Similarly, there were high average levels of the opinions towards the qualities of spa therapists, namely the working experiences of spa therapists, genders, personality, job trainings, and massage skills. 2) The spa operators’ opinions towards the economic factors having a positive correlation at a statistical significant 0.01 level were incomes and costs of products. As for the opinions towards the qualities of spa therapists, there were 6 pairs with positive correlations, at the 0.01 significant level, The pair with the strongest correlation were spa therapists and those who completed spa skilled trainings course, and or other courses related to Thai massage, and the oil massage skills and other skills necessary for spa therapists. On the other hand, the pair with the weakest correlation was the opinions towards the good appearance of spa therapists and the oil massage skills of spa therapists. 3) The opinions towards the economic factors of spa operators with less than 100 customers per month and those with about 100-200 customers per month were different at the .05 significance level. The opinions of the both groups towards the qualities of spa therapists, namely the third gender (male) factor, were different at the .05 significance levelen_US
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
132352.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.26 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons