กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2499
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่กำหนดการจ้างงานของธุรกิจสปาในเขตกรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Relationships between the factors influencing employment in the spa business in Bangkok |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | รัชฎาพร เลิศโภคานนท์ พีรศักดิ์ อภิชาตโรจนกุล, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ธุรกิจสปา--ไทย--กรุงเทพฯ--การจ้างงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา ความคิดเห็นของผู้ประกอบการธุรกิจสปาเกี่ยวกับปัจจัยด้านเศรษฐกิจและปัจจัยด้านคุณสมบัติของพนักงานนวดสปา 2) ศึกษา ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านเศรษฐกิจและปัจจัยด้านคุณสมบัติของพนักงานนวดสปาที่มีต่อการจ้างงาน และ 3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ประกอบการธุรกิจสปาเกี่ยวกับปัจจัยด้านเศรษฐกิจและปัจจัยด้านคุณสมบัติของพนักงานนวดสปาตามกลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการของธุรกิจสปาในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงได้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการธุรกิจสปาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 40 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติทดสอบที ผลจากการศึกษา พบว่า 1) ความคิดเห็นของผู้ประกอบการสปาเกี่ยวกับปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่มีต่อการจ้างงาน คือ อัตราค่าจ้าง รายได้ของสถานประกอบการ และต้นทุนค่าใช้จ่ายของสถานประกอบการมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านคุณสมบัติของพนักงานนวดสปาที่มีต่อการจ้างงาน คือ ประสบการณ์ทำงานของพนักงานนวดสปา เพศ บุคลิกภาพ การฝึกอบรม และทักษะการนวดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเช่นกัน 2) ความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่มีต่อปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 คือ รายได้กับต้นทุนผลิตภัณฑ์ ด้านคุณสมบัติของพนักงานนวดสปามีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 มีทั้งหมด 6 คู่ โดยคู่ที่มีความสัมพันธ์สูงสุด คือ พนักงานนวดสปาที่ผ่านการอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือหลักสูตรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการนวดไทย นวดน้ำมัน กับทักษะอื่นที่จำเป็นกับพนักงานนวดสปา ส่วนคู่ที่มีความสัมพันธ์ต่ำสุด คือพนักงานนวดสปาหน้าตาดี กับพนักงานนวดสปาที่มีทักษะการนวดน้ำมัน 3) ความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยทางเศรษฐกิจของกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจสปาที่มีลูกค้าน้อยกว่า 100 รายต่อเดือนและที่มีลูกค้า 100-200 รายต่อเดือน มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 คือ รายได้ของสถานประกอบการธุรกิจสปาและการเพิ่มจำนวนสถานประกอบการธุรกิจสปา ส่วนความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยด้านคุณสมบัติของพนักงานนวดสปาของผู้ประกอบการทั้งสองกลุ่ม มีความแตกต่างที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 คือ ปัจจัยด้านพนักงานนวดสปาที่เป็นเพศที่สาม (ชาย). |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2499 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
132352.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.26 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License