กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/249
ชื่อเรื่อง: บทบาทกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่มีต่อการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ศึกษากรณีอำเภอบึงสามัคคี จังหวักกำแพงเพชร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The role of Kumnans and village headmen in promoting public political participation : a case study of Bueng Samakkhi District, Kamphaeng Phet Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปธาน สุวรรณมงคล
บุญเชิด มารศรี, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ยุทธพร อิสรชัย
คำสำคัญ: การมีส่วนร่วมทางการเมือง
กำนัน -- กิจกรรมทางการเมือง
ผู้ใหญ่บ้าน -- กิจกรรมทางการเมือง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่มีต่อการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน (2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดของกำนันผู้ใหญ่บ้านในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน และ (3) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาบทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บานในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 32 คนประกอบด้วย ผู้นำชุมชน/ตัวแทนสมาคม ข้าราชการส่วนภูมิภาคอำเภอบึงสามัคคี ข้าราชการท้องถิ่น อำเภอบึงสามัคคี กำนันผู้ใหญ่บ้าน และผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครื่องมือวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า (1) กำนัน ผู้ใหญ่บ้านมีบทบาทในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยการพูดประชาสัมพันธ์ทางเสียงตามสายหมู่บ้านทุกวัน การเรียกประชุมประชาคมและเสวนาร่วมแสดงความคิดเห็นในหมู่บ้านทุกเดือนและการเคาะประตูบ้านเพื่อให้ความร้แก่ประชาชนในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การเข้าร่วมกิจกรรมฟังการหาเสียง การไปร่วมเรียกร้องผลประโยชน์สาธารณะ การดำเนินกิจการงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการและงบประมาณของหมู่บ้าน (2) ปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน คือ กำนันผู้ใหญ่บ้านยังขาดความรู้ความเข้าใจต่อระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ทั้งประชาชนและกำนัน ผู้ใหญ่บ้านยังห่วงเรื่องปากห้องของตัวเองมากกว่าการมีส่วนร่วมทางการเมือง ขาดอิสระในการทำหน้าที่ เพราะต้องรับฟังและปฏิบัติตามนโยบายรัฐ และยังถูกมองว่าเป็นหัวคะแนนของนักการเมือง (3) แนวทางการพัฒนาบทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านจะต้องมีความร้ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยเพิ่มมากขึ้น ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าร่วมทางการเมืองอย่างมีอีสระไม่ใช่การบังคับ ภาครัฐต้องมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความอยู่ดีกินดีเพื่อขจัดปัญหาระบบอุปถัมภ์จากนักการเมือง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/249
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
122019.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons