Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2502
Title: | การวิเคราะห์เปรียบเทียบการจัดทำผลิตภัณฑ์จังหวัดในรูปแบบทางตรงและทางอ้อม : กรณีศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู |
Other Titles: | Comparative analysis of the estimation of the gross provincial product by direct vs. indirect way : a case study of Nong Bua Lam Phu Privince |
Authors: | ศิริพร สัจจานันท์ ไพฑูรย์ สุริยารังสรรค์, 2508- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างและปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความแตกต่างของข้อมูลผลิตภัณฑ์จังหวัด ที่ได้จากการจัดทำในรูปแบบทางตรงคือการจัดเก็บข้อมูลกิจกรรมการผลิตทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ของจังหวัด แล้วนำมาคำนวณหามูลค่าเพิ่มของผลผลิต กับรูปแบบทางอ้อมที่ดำเนินการโดยการกระจายมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในระดับประเทศออกมาเป็นตัวเลขผลิตภัณฑ์จังหวัดโดยใข้สัดส่วนเครื่องชี้ภาวะการผลิตวิธีดำเนินการศึกษา เป็นการศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์จังหวัดหนองบัวลำภู ณ ราคาประจำปี ของปี 2548 โดยใช้ตารางเปรียบเทียบเพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของข้อมูลผลิตภัณฑ์ จังหวัดในรูปแบบทางตรงกับรูปแบบทางอ้อมในประเด็นของมูลค่าเพิ่มของผลผลิต อัตราการขยายตัวและอัตราโครงสร้าง พร้อมทั้งวิเคราะห์สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้ข้อมูลทั้งสองรูปแนบมีความแตกต่างกันผลการศึกษาพบว่า 1. ข้อมูลผลิตภัณฑ์จังหวัดในรูปแบบทางตรงและรูปแบบทางอ้อมมีความแตกต่างกันทั้งในด้านมูลค่าเพิ่ม อัตราการขยายตัว และอัตราการเจริญเติบโต 2. ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความแตกต่างคือ วิธีการจัดทำที่แตกต่างกัน ความสามารถของบุคลากรในจัดเก็บแตกต่างกัน 3. ข้อมูลในรูปแบบทางตรงมีความสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดหนองบัวลำภูมากกว่ารูปแบบทางอ้อม |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2502 |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
113160.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License