กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2513
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน ในอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for Development of Community Rice Seed Extension and Production Centers in In Buri District of Sing Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุมิตรา จันเนียม, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน--การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน (2) สภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว (3) สถานภาพการเป็นสมาชิก (4) การรับรู้ข้อมูลข่าวสารและความต้องการของสมาชิก (5) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและแนวทางการพัฒนาศูนย์ฯ (6) ปัญหาและข้อเสนอแนะของศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 55 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4แรงงานในครอบครัวเฉลี่ย 2.09 คน ไม่มีสถานะทางสังคม ทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก อาชีพรองคือรับจ้างทั่วไป ประสบการณ์ในการทำนาเฉลี่ย 21.86 ปี พื้นที่ถือครองเฉลี่ย 40.96 ไร่ ส่วนใหญ่กู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อการการเกษตร (2) ศูนย์มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเฉลี่ย 67.5 ตัน ราคาเมล็ดพันธุ์ข้าวต่อกิโลกรัมเฉลี่ย 18.17 บาท จานวนผู้ผลิตแปลงพันธุ์ข้าวเฉลี่ย 16 คน ผลิตข้าวพันธุ์กข31ทั้ง 6 กลุ่ม มีการตรวจสอบการตัดพันธุ์ปนและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ไม่มีลานตากข้าว (3) การเป็นสมาชิกเฉลี่ย 4.79 ปี สมาชิกมีความต้องการซื้อและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว และแลกเปลี่ยนความรู้ สมาชิกเข้าร่วมประชุม เฉลี่ย 5.25 ครั้งต่อปี คัดเลือกคณะกรรมการศูนย์ข้าวโดยการเลือกตั้ง วาระ 4 ปี มีการบริหารจัดการศูนย์ การประชาสัมพันธ์ มีการซื้อและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ อบรมถ่ายทอดความรู้ กำหนดแผนการดำเนินงาน กำหนดวัตถุประสงค์ ไม่มีกองทุนกู้ยืม (4) การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากเจ้าหน้าที่รัฐ มีความพึงพอใจสภาพการดำเนินงานด้านการซื้อและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ และด้านกรรมการและผู้นำ กิจกรรมที่ต้องการคือการลดต้นทุนการผลิต และการจัดหาปัจจัยการผลิต (5) ด้านปัจจัยภายใน เช่น ผู้นำ สมาชิก การบริหารศูนย์ข้าวชุมชน ทรัพยากรและเงินทุน กิจกรรมการผลิต ส่วนปัจจัยภายนอก เช่น การดำเนินการของภาครัฐ เจ้าหน้าที่ และสภาพพื้นที่ สำหรับแนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย การส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตและการตลาด การส่งเสริมการจัดกิจกรรมแปลงเรียนรู้ การสนับสนุนการเชื่อมโยงเครือข่ายทั้งการผลิตและการตลาด สมาชิกต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน มีการวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน ระบบตรวจสอบควบคุมการผลิตให้มีคุณภาพ การประสานงานกับหน่วยงานของภาครัฐในเรื่องความรู้และการสนับสนุนด้านงบประมาณ ปัจจัยการผลิตอย่างต่อเนื่อง การวางแผนดาเนินธุรกิจเพื่อต่อยอดกิจกรรมการผลิตในกลุ่ม (6) ปัญหาในการดำเนินงานคือ สมาชิกไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการผลิตเมล็ดพันธุ์และกลุ่มไม่มีแผนการดำเนินงาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2513
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
146070.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons