Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2514
Title: การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของโครงการทางเลี่ยงเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่
Other Titles: A cost-benefit analysis of the Krabi bypass highway project, Krabi Province
Authors: เรวดี จรุงรัตนาพงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภานุมาศ สุวรรณรัตน์, 2509- ผู้แต่ง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ทางหลวง -- แง่เศรษฐกิจ
ต้นทุนการผลิต -- การคำนวญ
โครงการทางหลวงท้องถิ่น
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของโครงการทาง หลวงในจังหวัดกระบี่ ที่มีแนวเส้นทางตัดผ่านพื้นที่ภูเขาลาดชันที่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำ และปรับปรุงรูปแบบ ทางเลือก เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำโดยใช้รูปแบบอุโมงค์ และ 2) วิเคราะห์ความอ่อนไหว ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราคิดลดต้นทุนค่าก่อสร้างและปริมาณจราจร ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษานี้ได้จากการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้วิธี วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน เป็นเครื่องมือในการเปรียบเทียบการก่อสร้างทางหลวงใน 2 รูปแบบ ทางเลือก ได้แก่ 1) การก่อสร้างทางหลวงผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำ และ 2) การก่อสร้างทางหลวงรูปแบบอุโมงค์ ลอดใต้แนวภูเขา เพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่ลุ่มน้ำ ในระยะเวลาศึกษาวิเคราะห์ 20 ปี การวิเคราะห์ความอ่อนไหว ทดสอบด้วยอัตราคิดลดที่แตกต่างกัน (ร้อยละ 3 ร้อยละ 5 และร้อยละ 8) การเพิ่มขึ้นและการลดลงร้อยละ 20 ของต้นทุนก่อสร้าง และปริมาณการจราจร ผลการศึกษาสรุปได้ว่า 1) การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนรูปแบบทางเลือกที่ 2 หรือ การก่อสร้างทางหลวงรูปแบบอุโมงค์ลอดใต้แนวภูเขา มีความคุ้มค่ามากกว่ารูปแบบทางเลือกที่ 1 หรือการ ก่อสร้างทางหลวงผ่านพื้นที่ภูเขาลาดชันที่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ 7,870.45 ล้านบาท ณ อัตราคิดลดร้อยละ 3 และ 4,826.64 ล้านบาท ณ อัตราคิดลดร้อยละ 5 แต่หากใช้อัตราคิดลดร้อยละ 8 รูปแบบทางเลือกที่ 1 จะมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากบั 2,108.69 ล้านบาท สูงกว่ารูปแบบทางเลือกที่ 2 ที่มีค่า เท่ากับ 1,954.06 ล้านบาท ทั้งนี้ อัตราคิดลดแสดงถึงการแลกการบริโภคระหว่างคนรุ่นปัจจุบัน กับคนรุ่น อนาคต นโยบายของรัฐควรจะเป็นนโยบายที่คำนึงถึงคนในรุ่นอนาคตด้วยเช่นกันดังนั้นผลของการศึกษา จึงน่าให้น้ำหนักกับผลการศึกษาที่ใช้อัตราคิดลดที่ต่ำ เพราะการใช้อัตราคิดลดที่ยิ่งมีค่าสูงขึ้นเท่าใด ซึ่งหมายถึงการให้น้ำหนักความสำคัญกับอนาคตน้อยลงเท่านั้น อีกเหตุผลหนึ่งที่สนับสนุนรูปแบบ ทางเลือกที่ 2 คือ รูปแบบทางเลือกที่ 2 ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับรูปแบบทางเลือกที่ 1 และ การศึกษานี้ยังพบว่า 2) ผลการวิเคราะห์ความอ่อนไหวไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงลำดับของรูปแบบ ทางเลือก ทางหลวงรูปแบบอุโมงค์ยังเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ามากกว่าเมื่อเทียบกับการก่อสร้างทางหลวงผ่าน พื้นที่ลุ่มน้ำ
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2514
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
160437.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.66 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons