กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2522
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการออมของชุมชนย่านการค้าตัวเมืองตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An analysis of factors affecting influencing saving behavior in commercial area, Tambon Sa-Tang, Amphoe Muang, Yala Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริพร สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
มะลิวัลย์ ผดุงศักดิ์วิรุฬห์, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การประหยัดและการออม
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัฅถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการออมและรูปแบบการออม ของชุมชนย่านการค้าตัวเมืองตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา (2) ปัจจัยที่มีผลกระทบ ต่อพฤติกรรมการออมและปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่างกันของการออมของชุมชนย่านการค้าตัว เมืองตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา และ (3) ปัญหาและอุปสรรคที่มีผลกระทบต่อ พฤติกรรมการออมของชุมชนย่านการค้าตัวเมืองตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการวิเคราะห์โดยอาศัยข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ โดยข้อมูลปฐมภูมิรวบรวมจากประชากรในพื้นที่ชุมชนย่านการค้าตัวเมืองตำบลสะเตง ซึ่งใช้ จำนวนตัวอย่างรวม 102 ครัวเรือน เป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงปริมาณหลาย ตัวแปรโดยการถดถอยแบบโลจิสติก วิธี Binary Logistic และการทดสอบค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม ระหว่าง ครัวเรือนนับถือศาสนาพุทธและครัวเรือนนับถือศาสนาอิสลาม แบบ พาราเมตริก วิธีการ เปรียบเทึยบค่าเฉลี่ยของตัวแปร โดยการทดสอบแบบ t ผลการศึกษาพบว่า (1) พฤติกรรมการออมของชุมชน 3 ดันดับแรกเกิดจากความตั้งใจ ในการออม เพื่อเพิ่มพูนทรัพย์สิน และอัตราดอกเบี้ย ตามลำดับ มีรูปแบบการออม 3 อันดับแรก คือ เงินฝากออมทรัพย์/กระแสรายวัน ประกันชีวิต และทองคำ ตามลำดับ (2) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ พฤติกรรมการออม คือ อายุ รายได้ประจำครัวเรือน อัตราดอกเบี้ย ประกันชีวิต และปัญหาความ ไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปร คือ -0.796 2.474 -2.377 1.943 และ -0621 ตามลำดับ สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่างกันของการออมที่สำคัญอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ อาชีพ และรายได้ประจำครัวเรือน ตามลำดับ (3) ปัญหา และอุปสรรคที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการออม คือ ปัญหาจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาค่าใช้จ่ายการบริโภคปรับตัวสูงขึ้น และปัญหาค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา บุตรสูงขึ้น
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2522
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
113158.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons