กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2525
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors determining short-term interest rates in Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กาญจนี กังวานพรศิริ ยุพา สุขุมวาท, 2501- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี อัตราดอกเบี้ย--ไทย ดอกเบี้ย--ไทย การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์. |
วันที่เผยแพร่: | 2547 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารข้ามคืน ที่ผู้ศึกษาใช้เป็นตัวแทนของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในประเทศไทย ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทย ดำเนินนโยบายการเงินในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อโดยกำหนดให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อพันธบัตร ระยะ 14 วัน เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการส่งสัญญาณทางการเงิน เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับเป้าหมาย โดยมีจุดมุ่งหมายให้อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวทำหน้าที่เป็นกลไกทางการเงินส่งผ่านไปยังอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน และอัตราดอกเบี้ยระยะยาวในตลาดทุน โดยหวังให้เกิดผลกระทบในวงกว้างสู่การบริโภคและการลงทุนในระบบเศรษฐกิจและบรรลุเป้าหมายขั้นสุดท้ายในที่สุดข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิรายวันจากธนาคารแห่งประเทศไทย แล้วนำมาเฉลี่ยเป็นรายเดือนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2540 ถึงเดือนมิถุนายน 2547 โดยการศึกษาหาความสัมพันธ์ของอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารข้ามคืนกับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอื่น และสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ด้วยการประมาณการวิธี OLS จากการศึกษาด้วยภาพกราฟพบว่า อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร ระยะ 14 วัน และอัตราดอกเบี้ยที่คำนวณจากการกู้ยืมผ่านธุรกรรม FX Swap ประเภทในประเทศ ระยะ 1 วัน มีการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันกับอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารข้ามคืน ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยต่างประเทศ SIBOR ระยะ 7 วัน และสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ มีทิศทางการเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารข้ามคืนและจากผลการศึกษาด้วยวิธีการ OLS ณ ระดับนัยสำคัญ 5 % พบว่า อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร 14 วัน และอัตราดอกเบี้ยที่คำนวณจากการกู้ยืมผ่านธุรกรรม FX Swap ประเภทในประเทศ ระยะ 1 วัน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารข้ามคืน เป็นไปตามข้อสมมติฐานของการศึกษา ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยต่างประเทศ SIBOR ระยะ 7 วัน และสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารข้ามคืน ซึ่งไม่เป็นไปตามข้อสมมติฐานของการศึกษา ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในประเทศเป็นอิสระจากอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศมากขึ้นหลังจากประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวและการพิจารณาเฉพาะสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถใช้เป็นตัวกำหนดอัตราดอกเบี้ยได้ เนื่องจากในภาวะที่มียอดหนี้ NPL ที่สูง ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงในการให้สินเชื่อ ธนาคารพาณิชย์ จึงต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้นในการปล่อยกู้ สรุปได้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถใช้อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะเวลา 14 วัน เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการส่งสัญญาณทางการเงินในการดำเนินนโยบายการเงินแบบเป้าหมายเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรเป็นตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดในระดับสูง โดยสามารถวัดและติดตามการเคลื่อนไหวได้ตลอดเวลา ให้เป็นไปตามเป้าหมายเพื่อให้การควบคุมอัตราดอกเบี้ยส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตจริง ดังนั้น อัตราดอกเบี้ย ในตลาดซื้อคืนพันธบัตร ระยะ 14 วัน จึงเป็นกลไกสำคัญที่จะสร้างเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจไทยต่อไป |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2525 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Independent study |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License