กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/252
ชื่อเรื่อง: | ความรับผิดทางแพ่งจากการใช้บัตรเครดิต (กรณีมีเซลสลิป) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Civil liability from credit card transactions (with sales slip) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปิยะนุช โปตะวณิช มนูญธรรม ปรีชาไว, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุนทร มณีสวัสดิ์ เธียรชัย ณ นคร |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ บัตรเครดิต ความผิดฐานฉ้อโกงบัตรเครดิต ความรับผิด (กฎหมาย) |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะสำหรับธุรกรรมบัตรเครดิต ยังคงอยู่ระหว่างการร่าง กฎหมาย ก่อให้เกิดช่องว่างในการหาประโยชน์ โดยไม่สุจริตจากการใช้บัตรเครดิต และส่วนใหญ่มีหลักฐานการใช้เป็นเซลสลิป ดังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาฎีกาที่ 1989/2552 ซึ่งเป็นกรณีที่บัตรเครดิตถูกขโมยไป และเจ้าของบัตรได้แจ้งระงับการใช้บัตรให้ธนาคารผู้ออกบัตรทราบแล้ว แต่ผู้ออกบัตรยังนำหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนมีการแจ้งระงับการใช้บัตรมาฟ้องเป็นคดีให้ผู้ถือบัตรต้องรับผิด ทั้งที่ลายมือชื่อในเซลสลิปไม่ตรงกับลายมือชื่อในข้อตกลงการใช้บัตรอย่างเห็นได้ชัด ยิ่งไปกว่านั้น ธนาคารผู้ออกบัตรต้องรายงานผลการไม่ชำระหนี้บัตรเครดิตไปยังบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ทำให้ผู้ถือบัตรผู้เป็นเจ้าของข้อมูลต้องกลายเป็นผู้มีรายชื่อค้างชำระหนี้ต่อสถาบันการเงิน ส่งผลให้ไม่สามารถขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ระหว่างที่รอพิสูจน์ความจริงในชั้นศาลซึ่งใช้เวลานาน แม้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 จะบัญญัติให้ความคุ้มครองแก่เจ้าของข้อมูล (ผู้ถือบัตร) แต่หากพิจารณาโดยละเอียดแล้ว ยังมีบางกรณีที่พระราชบัญญัติฉบับนี้มิได้กำหนดไว้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความรับผิดทางแพ่งจากการใช้บัตรเครดิต กรณีมีหลักฐานเป็นเซลสลิป (2) หามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมเพื่อใช้คุ้มครองผู้ถือบัตรผู้สุจริตจากข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาฎีกาที่ 1989/2552 (3) เพิ่มเติมมาตรการทางกฎหมายในพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 เพื่อคุ้มครองผู้ถือบัตรผู้สุจริต แต่ต้องเสียหาย ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากตำราภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ วารสารวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต และตัวบทกฎหมาย ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นำมาศึกษาแนวคิดและหลักเกณฑ์อยางมีระบบ จากการศึกษาผู้วิจัยมีความเห็นว่า ความรับผิดทางแพ่งจากการใช้บัตรเครดิตจะมีความรับผิดทั้งทาง สัญญา และละเมิด ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้ เพิ่มบทบัญญัติในร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต พ.ศ... ในหมวด 5 โดยนำเนื้อหาของประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา กรณีผู้ถือบัตรได้แจ้งขอระงับการใช้บัตรระบุไว้ พร้อมเพิ่มเนื้อหาให้คุ้มครองผู้ถือบัตรผู้สุจริต และเพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมายใน พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจ ข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 ในหมวด 4 โดยกำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อแจ้งให้สมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิตรายอื่น ซึ่งใช้ข้อมูลของเจ้าของข้อมูล (ผู้ถือบัตร) ก่อนจะมีการแก้ไขข้อมูลนั้น ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงแกไขข้อมูล และควรมีการกำหนดระยะเวลาที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต จะต้องพิจารณาข้ออุทธรณ์โต้แย้งให้เสร็จสิ้น ภายในกำหนดเวลาใดเวลาหนึ่ง กับกรณีที่เจ้าของข้อมูลไม่พอใจกับคำตัดสินอุทธรณ์ของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตควรกาหนดการดำเนินการขั้นต่อไป |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/252 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib128789.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 33.55 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License