กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2530
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ระหว่างพื้นที่ในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทาน อำเภอเมืองฯ จังหวัดเพชรบูรณ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Cost-benefit analysis of the maize production in the irrigated and non-irrigated areas in Muang District, Phetchabun Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | รัฐวิชญญ์ จิวสวัสดิ์ รวีวรรณ จันทร์แหนบ, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ข้าวโพด--ต้นทุนการผลิต ข้าวโพด--การปลูก การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทาน อาเภอเมืองฯ จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) วิเคราะห์ต้นทุนการผลิต และผลตอบแทนการผลิตจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในเขตชลประทานและนอกเขต ชลประทาน อาเภอเมืองฯ จังหวัดเพชรบูรณ์ 3) ศึกษาความคุ้มทุนของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทาน อาเภอเมืองฯ จังหวัดเพชรบูรณ์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากครัวเรือนเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงเดือน พฤษภาคม 2553 – ตุลาคม 2553 ทั้งในเขตและนอกเขตพื้นที่ ชลประทานทั้งหมด 97 ครัวเรือน โดยการสัมภาษณ์และตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละและค่าเฉลี่ยผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเขต พื้นที่ชลประทานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ระหว่าง 31-45 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีประสบการณ์ในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 12.6 ปี ส่วนเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ นอกเขตพื้นที่ชลประทานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 31-45 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 8 ปี แหล่งทุนในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรทั้งสองเขตพื้นที่ ส่วนใหญ่กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 2) ต้นทุนรวมเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 7,513.4 บาท ต้นทุนคงที่รวมเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 1,598.1 บาท และต้นทุนผันแปรรวมเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 5,915.3 บาท ในเขตพื้นที่ชลประทานมีต้นทุนคงที่เฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 1,466.1 บาท ต้นทุนผันแปรเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 5,101.6 บาท เกษตรกรมีกำไรสุทธิเฉลี่ยต่อไร่ 4,722.5 บาท ส่วนพื้นที่นอกเขตชลประทานมีต้นทุนคงที่เฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 1,690.1 บาท ต้นทุนผันแปรเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 6,728.7 บาท มีกำไรสุทธิเฉลี่ยต่อไร่ 2,841.8 บาท 3) ปริมาณ การผลิตคุ้มทุนต่อไร่รวมเฉลี่ยเท่ากับ 1,015.3 กิโลกรัม ในเขตชลประทาน ปริมาณการผลิตคุ้มทุนต่อ ไร่เท่ากับ 887.5 กิโลกรัม และนอกพื้นที่เขตชลประทานเท่ากับ 1,137.7 กิโลกรัม |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2530 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
130939.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.64 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License