กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2538
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมทรัพย์ของประชาชนในเขตอำเภอเมือง : กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting saving behavior : a case study of Muang District, Ubon Ratchathani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พอพันธ์ อุยยานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลักขณา เกตุสิริ, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การประหยัดและการออม -- ไทย
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมทรัพย์ของประชาชน กรณีศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ในการศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลปฐมภูมิเป็น แบบสอบถามประชาชนผู้อยู่ในวัยทำงาน และเป็นผู้มีงานทำ มีอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป และมี ภูมิลำเนาหรือมีที่พักอาศัยปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งควรมีความสามารถ ในการออมทรัพย์ได้ จำนวน150 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ และใช้สมการถดถอยพหุคูณในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่กำหนดจำนวนเงินออมของประชาชน กรณีศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ รายได้ต่อเดือน รูปแบบการออมที่สนใจมากที่สุดคือเงินฝากออมทรัพย์ เขตพักอาศัย อายุ และอาชีพเกษตรกร โดยพบว่าตัวแปรทั้ง 5 ตัวนี้สามารถร่วมกันกำหนดจำนวน เงินออมของประชาชน ได้อย่างถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 44.0 แสดงในรูปของสมการถดถอยพหุคูณ เชิงเส้นได้ดังนี้จำนวนเงินออม = 7251.777 + (1.024) X รายได้ต่อเดือน - (2903.174) X รูปแบบการ ออมที่สนใจมากที่สุดคือเงินฝากออมทรัพย์ + (4001.268) X เขตพักอาศัย - (183.510) X อายุ + (3445.249) X อาชีพเกษตรกร ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมทรัพย์ของประชาชน กรณีศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ ระดับการศึกษา อายุ จำนวนผู้ที่อยู่ใน อุปการะ วัตถุประสงค์ในการออม (เพื่อให้ได้ดอกเบี้ย เพื่อเก็บไว้ใช้จ่ายยามเจ็บป่วย/จำเป็น/ชรา และเพื่อการศึกษาของตนเองหรือ ผู้อยู่ในอุปการะ) สถาบันการออม (ธนาคารออมสิน และ ธกส./ ธอส.) รูปแบบการออม (เงินฝากออมทรัพย์) เหตุผลในการออม (การให้ผลตอบแทนสูง และความ มั่นคง/ มีความเสี่ยงน้อย) การส่งเสริมการออมจากสถาบันการเงิน (การขยายเวลาให้บริการ และ การเพิ่มวันให้บริการ) และอัตราดอกเบี้ย
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2538
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
113166.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons