Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2540
Title: | การวิเคราะห์เปรียบเทียบการจัดทำผลิตภัณฑ์จังหวัดในรูปแบบทางตรงและทางอ้อม : กรณีศึกษาจังหวัดชัยภูมิ |
Other Titles: | Comparative analysis of the estimation of the gross provincial product by direct vs. indireet way : a case study of Chaiyaphum |
Authors: | ศิริพร สัจจานันท์ วรรณา สมศักดิ์, 2509- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์. |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างและปัจจัยที่เป็น ตัวกำหนดความแตกต่างในการจัดทำผลิตภัณฑ์จังหวัดในรูปแบบทางตรง และรูปแบบทางอ้อมของจังหวัดชัยภูมิในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ข้อมูลผลิตภัณฑ์จังหวัด ณ ราคาประจำปี พ.ศ. 2548 วิธีจัดเก็บโดยวิธีทางอ้อม ซึ่งดำเนินการจัดเก็บโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และจัดเก็บโดยวิธีทางตรง โดยสำนักงานคลังจังหวัดชัยภูมิ เอกสารทางวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น คู่มือการจัดทำผลิตภัณฑ์จังหวัด ระเบียบ คำสั่ง หนังสือสั่งการต่าง ๆ รวมทั้งเอกสารประกอบการอบรมสัมมนา ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำผลิตภัณฑ์จังหวัดและผ่านทางเว็บไชต์ รวมทั้งการขอข้อมูลโดยตรงจากหน่วยงานเจ้าของข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สัดส่วนร้อยละ ตาราง กราฟ และแผนภูมิผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดทำผลิตภัณฑ์จังหวัดวิธีทางอ้อมและทางตรงมีความแตกต่างกัน ด้านข้อมูล เช่น ความแตกต่างด้านมูลค่าเพิ่ม ด้านโครงสร้างการผลิตและอัตราการ เจริญเติบโตที่มีความแตกต่างกัน 2. ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความแตกต่างคือ วิธีการจัดเก็บที่แตกต่างกัน ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล จำนวนกิจกรรมการผลิตที่แตกต่างกัน รวมทั้งมูลค่าเพิ่ม ณ ปีฐานที่นำมาคำนวณเพื่อหาอัตราการเจริญเติบโตมีความแตกต่างกัน 3. การใช้ประโยชน์จากข้อมูล พบว่าการจัดทำผลิตภัณฑ์จังหวัดโดยวิธีทางตรง จัดเก็บโดยหน่วยงานที่มีความชำนาญในพื้นที่เป็นการจัดเก็บจากพื้นที่จริงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเป็นข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจวางแผนการพัฒนาจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าผลิตภัณฑ์จังหวัดที่จัดเก็บโดยวิธีทางอ้อม |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2540 |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
113144.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License