กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2549
ชื่อเรื่อง: แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines to increase of sugarcane production efficiency for customers of the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives in Muang Lampang District, Lampang Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมบัติ พันธวิศิษฎ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิชิต สุวรรณา, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
อ้อย -- การผลิต -- ไทย -- ลำปาง
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปและปัญหาการผลิตอ้อยในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง และ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเพิ่มผลผลิตอ้อยของเกษตรกร ลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย จำนวน 100 ตัวอย่าง โดยการใช้แบบการสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูล ในปี การเพาะปลูก 2552 สถิติที่ใช้จากความถี่ ค่าเฉลี่ย และ ค่าร้อยละ และสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยส่วนใหญ่ใช้อ้อยสายพันธุ์ 85-2-352 ที่เป็น สายพันธุ์ที่ได้การส่งเสริมจากโรงงานน้ำตาลแม่วังเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินเป็นของ ตนเองจึงต้องเช่าที่ดินผู้อื่นโดยมีขนาดของฟาร์มเฉลี่ย 30.84 ไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 6.09 ตันต่อไร่ ซึ่งยังต่ำกว่าผลผลิตโดยเฉลี่ยของประเทศที่ 11.16 ตันต่อไร่ การปลูกอ้อยอาศัยภูมิปัญญาดั้งเดิม ไม่เน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิต และพึ่งพาน้ำธรรมชาติ ปัญหาที่ประสบที่สำคัญที่สุด คือ สภาวะแห้งแล้ง 2) ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิตอ้อย มีแรงจูงใจทางด้านรายได้และ สินเชื่อจากโรงงานน้ำตาลและสถาบันการเงินในชุมชน ซึ่งสถาบันการเงินหลักในการปล่อยสินเชื่อ คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยแนวทางหลักที่สามารถจูงใจเกษตรกร ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตแบบดั้งเดิมเป็นการผลิตที่มุ่งสู่การเพิ่มผลผลิต คือ การผสมผสาน การสร้างแรงจูงใจทางด้านรายได้ และสินเชื่อผ่านการทำแปลงสาธิตที่มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีต้นทุนที่ชัดเจน และมีหลักประกันด้านรายได้
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2549
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
124978.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons